วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

พวงคราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Petrea Volubilis. Linn.

ตระกูล VERBENACEAE

ชื่อสามัญ ฺPurple Wreath, Queen's Wreath,
Sandpaper Vine
ลักษณะทั่วไป

ต้น พวงครามเป็นไม้เลื้อยที่มีเถาใหญ่แข็งแรง เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งก้านก็ค่อนข้างแข็ง เถาอ่อนก็มี
ขนแต่เมื่อเถาแก่ขนก็จะหายไปเปลือกของต้นหรือเถาเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อนเถาพวงคราม
สามารถเลื้อยคลุมต้นไม้อื่นไปได้ไกลมากกว่า 20 ฟุต


ใบ พวงครามเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะใบเป็ฯรูปรี ใบมนกว้าง
ปลายใบแหลม โคนใบก็แหลมเช่นกัน ผิวใบสากระคายมือ ใบมีความยาวประมาณ 20 เซนติ
เมตร และกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีม่วงคราม ลักษษระดอกเป็นกลีบมี 5 กลีบ คล้าย
รูปดาว 5 แฉก กลีบรูปขอบขนาน ด้านบนของกลีบจะมีขน โคนกลีบดอกเชื่อมต่อกันเป็นหลอด
ภายในดอกมีเกสรตัวอยู่ 4 อัน พวงครามมักจะออกดอกและบานพร้อมกันเต็มช่อ ดอกค่อนข้าง
ดก และจะบานทนนานได้หลายวันมาก

ฤดูกาลออกดอก

พวงครามเป็นไม้ที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
การปลุก

วิธีการปลูกพวงคราม มักจะนำกิ่งที่ได้จากการปักชำมาปลูกลงดิน ไม่นิยมปลูกลงกระถาง เนื่องจาก
พวงครามเป็นไม้ที่มีลำต้นค่อนข้างใหญ่ หรือมีเถาที่ค่อนข้างจะเลื้อยไปไดไกล และจะนิยมใช้กิ่งจาก
การปักชำมากกว่าการเพาะเมล็ด การตอน เพราะกิ่งที่ได้จากการปักชำจะได้ต้นเร็วกว่า และไม่ทำ
ให้เสียเวลาด้วย

การดูแลรักษา

แสง พวงครามเป็นไม้ที่ชอบอยู่ในที่กลางแจ้ง ที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวัน

น้ำ มีความการน้ำปานกลาง แต่จะไม่ชอบให้น้ำขังแฉะ

ดิน พวงครามจะเจริญงอกงามได้ดี ในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น และดินที่มีความร่วนซุยสามารถเก็บความชื้นได้ดี
ปุ๋ย ถ้าหากใช้ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยไนโตรเจน ก็จะทำให้พวงครามเจริญเติบโต และงอกงามดีกว่าการใช้ปู๋ยสูตรอื่น ๆ
โรคและแมลง

พวงครามเป็นไม้ที่ไม่มีโรคและแมลงรบกวนจนถึงขั้นเสียหาย
การขยายพันธุ์
พวงครามมีวิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอน และการปักชำกิ่ง การปักชำกิ่งในขี้เถ้าแกลบ
จะได้ผลดีกว่าการปักชำกิ่งในกะบะทราย หรือการปักชำกิ่งในดิน

ดองดึง

ชื่อที่เรียก ดองดึง

ชื่อสามัญ Gloriosa, Glory, Climbing lily

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gloriosa superba.

ชื่อวงศ์ LILIACEAE

ชื่ออื่นๆ ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี); ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู (ภาคกลาง); พันมหา (นครราชสีมา); มะขาโก้ง (ภาคเหนือ); หมอยหีย่า (อุดรธานี)


ลักษณะ

ต้น ดองดึงเป็นพรรณไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นหรือเถาเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้ ๆ
และสามารถเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นได้สูงประมาณ 3 เมตร ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินมีลักษณะเด่น
อย่างหนึ่งคือ บริเวณส่วนปลายของหัวจะมีจุดเจรญสำหรับต้นใหม่ ฉะนั้นจึงต้องระมัดระวัง
อย่าให้ปลายของหัวหรือเหง้าหัก เพราะจะทำให้ต้นเสียหายและจะไม่งอกต่อไปได้

ใบ ลักษณะของใบคล้ายรูปหสก ตรงปลายใบจะมีขอเกาะหรือหนวดสำหรับเกี่ยวพันกับต้นไม้
อื่น ตัวใบมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน ขอบใบไม่มีจัก ใบเรียบ

ดอก ลักษณะของดอกจะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกจะแยกออกจากกันขอบของกลีบดอกบิดเป็น
เกลียว มีเกสรแยกออกจากโคนกลีบดอกด้านนอกดอกหนึ่งจะมีเกสรประมาณ 6-7 อัน สี
ของดอกจะมี 2 สี คือสีเหลืองและสีแดงสดปริมาณสีทั้งสองของดอกจะเปลี่ยนแปลงไปตาม
อายุของการบานของแต่ละดอก ยิ่งดอกบานนานก็ยิ่งมีสีแดงมากขึ้นกว่าดอกตูมหรือดอกที่
เพิ่งบาน

ประโยชน์

ปัจจุบันดองดึง จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีแนวโน้มที่จะใช้ในทางการแพทย์ ทางด้านปศุสัตว์และทางด้านการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากลำต้น ใต้ดินหรือเหง้า มีสารอัลคาลอยด์ลูมิคอลชิซินในรากมีสารซูเปอร์นินใบและเปลือกหุ้มเมล็ดมีสาร คอลชิซิน และนอกจากนี้ยังมีสาร อัลคาลอยด์อื่นๆ อีกหลายชนิด แต่ที่พบมากและมีปริมาณสูงกว่าอัลคาลอยด์ชนิดอื่น คือ คอลชิซิน ซึ่งการแพทย์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิดในคน โรคไขข้ออักเสบ โรคไขข้อหรือรูมาติซึม โรคเรื้อน คุดทะราด และโรคอื่นๆ อีกหลายชนิด ในทางตรงกันข้ามสารคอลชิซิน จัดว่าเป็นสารพิษชนิดหนึ่งซึ่งถ้ารับประทานเข้าไปมาก (3มิลลิกรัม) จะทำให้หมดสติ การหายใจติดขัด ทำให้ถึงตายได้ และคอลชิซิน ยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคอีกหลายชนิด เช่นอหิวาตกโรค(Cholera) โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Typhus) บริแกต ดิซีส (Brigat's disease) ปวดท้องรุนแรง(Colic) และระคายเคืองผิวหนัง (Skin complaints) เป็นต้น

พู่ชมพู

พู่ชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Calliandra haematocephala Hassk.

ชื่อสามัญ: Pink Red Powderpuff, Red Head Powderpuff

วงศ์: LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ไม้พุ่ม สูง 1-3 ม. กิ่งก้านค่อนข้างอ่อน

ใบ ใบเรียง สลับ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้นปลายคู่ ใบย่อยปฐมภูมิมี 1 คู่ ใบย่อยทุติยภูมิมี 6-10 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานขนาดเล็ก ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวหรือมน ขอบใบเรียบ มีหูใบแบบ free lateral stipule

ดอก ดอกช่อแบบ ช่อกระจุกแน่น ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกตูมรูปกลมสีแดง เมื่อดอกบานจะเป็นพู่กลม กลีบดอกสีขาวอมเขียว ลักษณะเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้โคนก้่านสีขาวติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นเส้นเล็กๆ ยาว สีขาวหรือสีชมพู จำนวนมากทำให้ดูคล้ายเป็นดอก

ผล ผลเป็นฝักแบนแบบฝักถั่ว ยาวประมาณ 4-6 ซม. ภายในมีเมล็ด 5-6 เมล็ด ผลเมื่อแก่จะแตกด้านข้าง

ดอกยี่โถ

อาณาจักร Plantae

อันดับ Gentianales

วงศ์ Apocynaceae

สกุล Nerium

สปีชีส์ N. oleander

ยี่โถ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium oleander L.) มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน โดยสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปี พ.ศ. 2352-2364
ลักษณะเฉพาะ

ยี่โถ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 ฟุต เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ เมื่อตัดหรือเด็ดจะมีน้ำยางไหลออกมา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลม ยาว ๑๕-๑๗ cm. กว้าง ๑.๗-๒.๐ cm. ขอบใบเรียบไม่มีจัก หนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น ออกตามข้อของลำต้น ดอกมีสีชมพู ขาว ออกตามปลายของยอดลำต้นเป็นกระจุกหรือช่อ รูปร่างคล้ายกรวยหรือปากแตร เวลาบานกลีบจะมีกลิ่นหอม ดอกยี่โถสามารถออกดอกได้ทั้งปี ผลเกิดเมื่อดอกมีการผสมเกสรและร่วงหลุดไป จะเกิดผลเป็นฝัก 2 ฝัก ต่อ 1 ดอกยี่โถ 1 ดอก เมล็ดลักษณะคล้ายเส้นไหม

การปลูกยี่โถ สามารถปลูกได้ทุกที่เนื่องจากขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิดได้ดี โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง


ประโยชน์



ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ดอก ผล ใบ

1. ผล ขับปัสสาวะ
2. ดอก แก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
3. ใบ ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ (มีความเป็นพิษสูงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง)
4. นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาฆ่าแมลง และยาเบื่อหนูได้

ดอกพลับพลึงแดง

พลับพลึงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Crinum amabile Donn.

ชื่อวงศ์: AMARYLLIDACEAE

ชื่อสามัญ: Red Crinum,Giant Lily

ถิ่นกำเนิด: มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา

ลักษณะวิสัย: ไม้ล้มลุก

ลักษณะทั่วไป: เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลำต้นอวบใหญ่ เนื้อในขาวและอ่อนนุ่ม ลำต้นโตเต็มที่ จะมีความสูง 3- 4 ฟุต ใบจะขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ตรงปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบไม่มีจัก เป็นสีเขียว ตรงโคนใบจะเป็นกาบ ซึ่งทำหน้าที่เป็นก้านใบห่อหุ้มเปลือกของลำต้น อยู่ผิวเนื้อใบจะอ่อนนุ่มและหนาเหนี่ยว ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ กลีบดอกด้านล่างจะเป็นสีแดงเข้ม หรือสีแดงเลือดหมู ดอกมีกลิ่นหอม จะออกปีละครั้ง

การขยายพันธุ์: แยกหน่อ

ประโยชน์:
ใบ นำเอามาย่างไฟ พันแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ขัดยอก ใช้อยู่ไฟ หลังคลอดต้มรับประทานทำให้อาเจียนหัว มีรสขม ในอินเดียใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ รักษาโรคเกี่ยวกับ น้ำดี เมล็ด เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เป็นยาบำรุง

พลับพลึง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenocaelis littoralis Salisb.

ตระกูล AMARYLLIDACEAE

ชื่อสามัญ Crinum Lily,Cape Lily

ลักษณะทั่วไป

พลับพลึงเป็นพรรณไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ และมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลมมีความกว้างประมาณ 15 ซม. และยาวประมาณ 30 ซม.ใบจะออกรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะใบแคบยาวเรียว ใบจะอวบน้ำ ขอบใบจะเป็นคลื่น ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะมีความยาวประมาณ 1 เมตร และกว้างประมาณ 10-15ซม. ดอกจะออกเป็นช่อ ตรงปลายจะเป็นกระจุกมีประมาณ 12-40 ดอก ตอนดอกยังอ่อนอยู่จะมีกาบเป็นสีเขียวอ่อน ๆ หุ้มอยู่ 2 กาบ ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 90 ซม. ดอกมีความยาวประมาณ 15 ซม. กลีบดอกจะเป็นสีขาว และมีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 6 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกตอนโคน ตรงปลายเกสรมีลักษณะเรียวแหลมยาวเป็นสีแดง โคนเป็นสีขาว ส่วนอับเรณูนั้น จะเป็นสีน้ำตาล ผลเป็นสีเขียวอ่อน และผลค่อนข้างกลม

ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีหัวใต้ดินลักษณะเป็นกลีบๆเรียงเวียนเป็นวงซ้อนอัดแน่นเป็นลำต้นเทียม

เจริญเติบโตเป็นช่อชูส่วนของใบขึ้นมาเหนือดิน แตกกอ

ต้น : มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลมสูงประมาณ 30 ซม. ใบ รูปแถบแคบเรียวแหลม ออกตรงข้ามกันสองข้าง ขอบใบเรียบ อวบน้ำ

ใบ :ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบต้น ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 100-120 เซนติเมตร

ปลายเรียวมนถึงแหลมทู่ โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา สีเขียวเป็นมัน ปลายใบอ่อนโค้งลง

ดอก : สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มที่กลางต้น ก้านช่อดอกแข็งและค่อนข้างแบนยาว 30-45เซนติเมตร

ช่อละ 4-8 ดอก ดอกย่อยเกิดเดี่ยวๆ บนปลายก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปเรียวยาว กลีบดอกโคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด

ปลายแยกเป็น 6 แฉก มีส่วนที่ยื่นออกมาเป็นรูปแถบเรียวเล็ก ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-10 เซนติเมตร

ประโยชน์ : ใบ นำเอามาย่างไฟ พันแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ดขัดยอก ใช้อยู่ไฟหลังคลอด หัว มีรสขม ในอินเดียใช้เป็นยาระบาย

ขับเสมหะ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำด

ผล : ผลแห้งแตก เมล็ดรูปกลม สีดำ

เมล็ด รูปร่างกลม ๆ เล็ก แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล ชอบขึ้นที่ดินชื้นแฉะ พบได้ทั่วประเทศ แยกหน่อปลูก

สรรพคุณทางยา

ใบ คนโบราณจะ รู้กันดีว่าสามารถนำมารักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ คลายเส้น แก้อาการฟกช้ำปวดบวมได้ และยังสามารถนำไปใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอด หรืออยู่ไฟได้ โดยเอามาประคบหน้าท้อง ทำให้มดลูกเข้าที่อยู่ตัว น้ำคาวปลาแห้ง ขจัดไขมันส่วนเกิน และขับของเสียต่างๆออกจากร่างกายคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและน้ำดี

เมล็ด สามารถขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาให้หมดได้

ราก สามารถนำมาตำแล้วพอกแผลก็ได้

ดอกแพงพวย


แพงพวยเป็นพืชพื้นเมืองของหมูเกาะมาดากาสกา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง แบ่งออกเป็น 3 subspecies ได้แก่

C. roseus var. roseus มีกลีบดอกด้านในสีม่วง ใจกลางดอกมีสีม่วงเข้ม C. roseus var. albus มีกลีบดอกด้านในสีขาว

ใจกลางดอกมีสีเหลือง C. roseus var. ocellatus มีกลีบดอกด้านในสีขาวใจกลางดอกมีส้มแดง

แพงพวยมีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่น ได้แก่ ผักปอดนา (ภาคเหนือ) ผักนมอินทร์ (สุราษฎร์ธานี) ตับขี้หมู (เกาะสมุย, เกาะพงัน)

แพงพวยฝรั่ง พังพวยฝรั่ง พังพวยบก (ไทยภาคกลาง) เป็นต้น แพงพวยเป็นพืชอายุหลายปี (perennial) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก

และเป็นพืชผสมตัวเอง ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ โรค แมลง ตลลอดจนสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ

สามารถเจริญได้ในอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน ชอบแสงแดดปานกลางถึงแสงแดดจัด ดอกมีสีสันสวยงาม ออกดอกตลอดปี

เป็นพืชที่มีระบบรากแก้ว ลำต้นมีทั้งทอดขนานไปตามผิวดินและตั้งตรง ทรงพุ่มสูงประมาณ 40-120 เซนติเมตร


ชื่อวิทยาศาสตร์ Catharanthus roseus "G. Don".

ตระกูล APOCYNACEAE

ชื่อสามัญ Madagascar periwinkle



ลักษณะทั่วไป

แพงพวยนี้เป็นไม้ล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีแตกกิ่งก้านสาขาได้อย่างมากมาย ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะกลมรี

ีขอบใบเรียบ ใบยาวประมาณ 2 นิ้ว และกว้างประมาณ 1 นิ้ว ออกดอกบริเวณยอดของต้น ดอกของแพงพวย

จะมีสองสีคือแดงและขาว นิยมปลูกประดับไว้ตามสนามหญ้า ข้างทางเดินหรือข้างถนน การปลูกจะปลูกเป็น แถวหรือเป็นกลุ่ม


พันธุ์แพงพวย

1. Snowflakes มีพุ่มต้นสูง 10 นิ้ว ต้นสูงสม่ำเสมอกันหมด ดอกสีขาว

2. Little Blanch สูง 10 นิ้ว ดอกสีขาว

3. Little Bright สูง 10 นิ้ว ดอกสีขาว ใจกลางดอกสีแดง

4. Little Linda ต้นสุง 8-10 นิ้ว ดอกสีชมพูเข้มอมม่วง พุ่มต้นกระทัด และออกดอกมาก

5. Little Pinkie ดอกสีชมพูเข้ม

6. Little Mixed มีหลายสีคละกัน

7. Little Blanche สีขาว

8. Little Bright Eye สีชมพูมีแต้มสีแดง

9. Little Delicata สีขาวมีแต้มสีแดงเข้ม

10. Little Linda สีชมพูอมม่วง

11. Grape Cooler สีม่วงขาว

12. Peppermint Cooler สีขาวมีแต้มสีแดง

13. Blush Cooler สีชมพู

14. Orchid Cooler สีชมพูเข้ม

15. Parasol สีชมพูเข้ม

16. Pretty in Rose สีชมพูอ่อน

17. Tropicana Blush สีแดงอ่อน

18. Tropicana Bright Eye สีชมพู

19. Tropicana Pink สีชมพูเข้ม

20. Tropicana Rose สีชมพูเข้ม


การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์แพงพวย สามารถทำได้ด้วยวิธีการปักชำ หรือเพาะเมล็ด แต่การเพาะจากเมล็ดทำได้ง่ายและสะดวกกว่า

โดยสามารถเพาะลงในกระบะ หรือหว่านลงในแปลงปลูก เมล็ดจะงอกภายใน 5-7 วัน

แพงพวยสามารถปลูกได้ตลอดปี เนื่องจากเป็นพืชในเขตร้อน ต้องการแสงแดดและอากาศร้อน ในต่างประเทศจะร่วงเมื่อ

อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาว

และจะแตกยอดใหม่ในต้นฤดูใบไม้ผลิเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลางโดยเฉพาะดินร่วนปน

ทรายที่มีการระบายน้ำดีและค่อนข้างจะแห้ง เนื่องจากจะช่วยในการส่งเสริมการเจริญของรากได้ดี ถ้าดินแฉะเกินไปจะ

ทำให้รากไม่มีอากาศหายใจ ทำให้รากเน่าได้


การดูแลรักษา

แสง ต้องการแสงแดดจัด

น้ำ ต้องการน้ำพอสมควร อย่าให้น้ำขังแฉะ

ดิน เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด

ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้ง


การขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ด แพงพวยเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วมาก

โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวน
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...