วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

หงอนไก่

หงอนไก่






หงอนไก่
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนักใบเป็นใบเดี่ยว จะออกรวมกันเป็นกลุ่มตามข้อลำต้น ใบมีสีเขียว ดอกจริงๆ ของหงอนไก่มีขนาดเล็กเป็นละออง แต่จะออกติดกันเป็นช่อใหญ่และแน่นหนา ดอกมีหลายสี เช่นแดง ชมพู ขาว เหลือง

ส่วนที่ใช้
ลำต้น ก้านและใบ ดอก เมล็ด


สรรพคุณ
ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้โรคท้องร่วง อาเจียนเป็นเลือด ริดสีดวงทวารมีเลือดออก กระอักเลือดตกเลือด หรือใช้เป็นยาพอกแก้ตะขาบกัด โดยใช้ต้นที่อ่อนตำแล้วพอก
ก้านและใบ ใช้ก้านและใบสดหรือแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาระบาย แก้รดสีดวงทวารที่มีเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ตกเลือดและเป็นโรคบิด หรือใช้ตำพอกบาดแผลที่มีเลือด ผิวหนังเป็นผดผื่นคัน
ดอก ใช้ดอกสดหรือแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ไอ หรืออาเจียนเป็นเลือด เลือดไหลไม่หยุด ประจำเดือนมามากผิดปกติ เลือดกำเดาออก ตกเลือด ตกขาว ปวดหัว เป็นผดผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และเป็นโรคตาแดง
เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง นำมาต้มหรือใช้ทำเป็นยาเม็ดกิน เป็นยาแก้ความดันโลหิตสูง ตาฟางในเวลากลางคืน แก้อุจจาระเป็นเลือด บิด ถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาออก ห้ามเลือดหรือผิวหนังเป็นผดผื่นคันร้อนแดงเป็นต้น

ดอกเฟื่องฟ้า

ดอกเฟื่องฟ้า





อาณาจักร พืช (Plantae)
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Caryophyllales
วงศ์ Nyctaginaceae

สกุล Bougainvillea

ชื่อไทย เฟื่องฟ้า
ชื่อสามัญ Bougainvillea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.
ตระกูล NYCTAGINACEAE
วงศ์ -
ถิ่นกำเนิด บราซิล
ชื่ออื่นๆ -

ลักษณะโดยทั่วไป

เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบเรียบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมคร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

การปลูก


การปลูกมี 2 วิธีี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 10 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตราอย่างละ 1 ส่วน ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่ม เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้านมักทำเป็นซุ้มหรือร้านโดยให้ต้นเฟื่องฟ้า
เลื้อยขึ้นไปตามธรรมชาติขนาดหลุมปลูก30x30x30เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา1:2ผสมดินปลูกการปลูกเฟื่อ
ฟ้าทั้งสองวิธีเราสามารถที่จะทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ได้รูปทรงที่เหมาะสมตามความต้องการไม่ให้ลำต้นเลื้อยก็ต้องทำการตัดแต่
ทรงพุ่มเช่นกัน เฟื่องฟ้า

การดูแลรักษา

แสง ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธุ์ ปักชำ ตอน การเสียบยอด
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า
การป้องกันกำจัด ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย
ขนาด [Size] : ขนาดกลาง
สีดอก [Flower Color] : สีขาว มีกลีบประดับสีขาว
แดง ชมพู บานเย็น และม่วงแดง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินปนทรายระบายน้ำดี
ความชื้น [Moisture] : ต่ำ
แสง [Light] : แดดเต็มวัน

ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย อายุหลายปี เลื้อยได้ไกลถึง 10 เมตร ผิวลำต้นสีน้ำตาลหรือ สีเทา ลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะของทรงพุ่มสามารถ ตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียว หรือด่างสีเขียว หรือด่างเหลือง-เขียว
ดอก (Flower) : สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบประดับมีทั้งแบบชั้นเดียว และซ้อน รูปไข่ มีสีขาว แดง ชมพู บานเย็น และม่วงแดง มี 3 กลีบขึ้นไป ซ้อนกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ปลายแผ่แบน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 เซนติเมตร ผล (Fruit) : ผลแห้ง ขนาดเล็ก มี 5 พู
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ดอกสวยมีสีสัน และหลากหลายพันธุ์ ปลูกประดับเป็นซุ้มไม้เลื้อย ปลูกเป็นแปลงในที่สาธารณะ ตัดแต่งทรงพุ่มดูแลรักษาง่ายและทนแล้งได้ดี เมื่ออากาศเย็นจะมี ดอกเต็มต้น ทำเป็นไม้บอนไซ ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่นเพราะมีหนามแหลม

ดอกผกากรอง

ดอกผกากรอง




ชื่อพื้นเมือง : ผกากรองต้น ขะจาย ตาปู ขี้กา คำขี้ไก่ สาบแร้ง
ชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lantana camara, Linn
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE



การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตัดกิ่งปักชำ

ลักษณะ : ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาโดยรอบ ลำต้นมีขนปกคลุม จับดูจะระคายมือ
ใบ รูปไข่ขอบจะจัก ปลายใบแหลม พื้นใบมีสีเขียวเข้ม ผิวของใบจะสากระคายมือ ใบออกเป็นคู่
ดอก สีเหลือง แดง ชมพู ขาว ม่วง ดอกเล็กออกเป็นกระจุก อาจมีหลายสีหรือสีเดียว ผล - เมล็ด







ประโยชน์ : ใช้ปลกเป็นไม้ดอกไม้ประดับบริเวณบ้านและสวนหย่อม


สรรพคุณ ส่วนที่นำมาใช้ทำยา คือ ใบ ดอก ราก โดยเก็บได้ตลอดปี จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้
"ใบ" มีรสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นหรือหิด ซึ่งเตรียมยาดังนี้นำใบสด10-15 กรัม มาตำและพอกบริเวณที่เป็น หรือ นำใบสดมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาชะล้างบริเวณที่เป็น
"ดอก" มีรสจืดชุ่ม แต่ให้ความรู้สึกเย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื่นและรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก โดยเตรียมยาดังนี้ ถ้าเป็นยารับประทานเพื่อรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แก้วัณโรค แก้ปวดท้องอาเจียน ให้ใช้ดอกสด 10-15 ช่อ หรือ ดอกแห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าใช้รักษารอยฟกช้ำหรือผดผื่น ให้นำดอกสดมาตำและพอกบริเวณที่เป็น
"ราก" ใช้แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม รอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระแทก โดยถ้าใช้รักษาอาการไข้ คางทูม ให้ใช้ราก 30-60กรัม ต้มน้ำดื่ม และถ้าใช้รักษาอาการปวดฟัน ใช้รากสด 30 กรัมกับเกลือจืด 30 กรัม ต้มน้ำบ้วนปาก การใช้ผกากรองรักษาโรคก็มีข้อควรระวัง คือ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน ส่วนที่ห้ามรับประทาน สำหรับทุกคนเพราะจะเกิดอันตรายจากพิษ คือ ผลแก่แต่ยังไม่สุกเนื่องจากสารกลุ่ม triterpenoid ได้แก่ lantadene A และ lantadene B ซึ่งรับประทานเมล็ดเข้าไปจะมีอาการเพลีย มึนงง ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด

ดอกราตรี

ดอกราตรี




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cestrum Nocturnum
วงศ์ : solanaceae
ชื่อสามัญ : Night Jessamine
ชื่ออื่น ๆ : Lady of the Night ,ราตรี, หอมดึก


ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
ราตรีเป็นดอกไม้ ที่มีกลิ่นหอมในเวลากลางคืนเมื่อมีดอกมันจะส่งกลิ่นไปไกล กลิ่นไม่ฉุนจนเกินไป มีกลิ่นเย็นเรื่อย ๆ ทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า หอมดึก ส่วนมากนิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินดีส

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราตรีเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นมีเปลือกเป็นสีเทาอ่อน ๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก พุ่มใบหนาต้นและใบมีกลิ่นเหม็นเขียวจัด ใบอ่อนบางรูปมนรี ปลายใบแหละโคนเรียวแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมเขียว ดอกมีขนาดเล็กและออกจับกลุ่มติดกันมากมายในช่อหนึ่ง ๆ ปลายดอกบานออกเป็นรูปดาว 5 แฉก ขนาดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. ดอกราตรีมีกลิ่นหอมจัดในเวลากลางคืน พอเช้าดอกที่บานจะหมดกลิ่นและจะหอมใหม่ในคืนต่อไป ออกดอกคราว ๆ หนึ่ง ประมาณ 5-7 วัน

การขยายพันธุ์
-การชำกิ่ง
-ตอนกิ่ง

การปลูกและการดูแลรักษา
-ราตรีในช่วงปักชำกิ่งหรือปลูกลงกระถางใหม่ ๆ ควรปลูกในที่ร่มรำไร หลังจากนั้นเมื่อตั้งตัวได้แล้วค่อยนำไปไว้กลางแจ้ง
-ราตรีชอบดินชื้นและอยู่ได้ในสภาพค่อนข้างแฉะ
-ต้องการน้ำมาก
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...