วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

หงอนไก่

หงอนไก่






หงอนไก่
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนักใบเป็นใบเดี่ยว จะออกรวมกันเป็นกลุ่มตามข้อลำต้น ใบมีสีเขียว ดอกจริงๆ ของหงอนไก่มีขนาดเล็กเป็นละออง แต่จะออกติดกันเป็นช่อใหญ่และแน่นหนา ดอกมีหลายสี เช่นแดง ชมพู ขาว เหลือง

ส่วนที่ใช้
ลำต้น ก้านและใบ ดอก เมล็ด


สรรพคุณ
ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้โรคท้องร่วง อาเจียนเป็นเลือด ริดสีดวงทวารมีเลือดออก กระอักเลือดตกเลือด หรือใช้เป็นยาพอกแก้ตะขาบกัด โดยใช้ต้นที่อ่อนตำแล้วพอก
ก้านและใบ ใช้ก้านและใบสดหรือแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาระบาย แก้รดสีดวงทวารที่มีเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ตกเลือดและเป็นโรคบิด หรือใช้ตำพอกบาดแผลที่มีเลือด ผิวหนังเป็นผดผื่นคัน
ดอก ใช้ดอกสดหรือแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ไอ หรืออาเจียนเป็นเลือด เลือดไหลไม่หยุด ประจำเดือนมามากผิดปกติ เลือดกำเดาออก ตกเลือด ตกขาว ปวดหัว เป็นผดผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และเป็นโรคตาแดง
เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง นำมาต้มหรือใช้ทำเป็นยาเม็ดกิน เป็นยาแก้ความดันโลหิตสูง ตาฟางในเวลากลางคืน แก้อุจจาระเป็นเลือด บิด ถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาออก ห้ามเลือดหรือผิวหนังเป็นผดผื่นคันร้อนแดงเป็นต้น

ดอกเฟื่องฟ้า

ดอกเฟื่องฟ้า





อาณาจักร พืช (Plantae)
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Caryophyllales
วงศ์ Nyctaginaceae

สกุล Bougainvillea

ชื่อไทย เฟื่องฟ้า
ชื่อสามัญ Bougainvillea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.
ตระกูล NYCTAGINACEAE
วงศ์ -
ถิ่นกำเนิด บราซิล
ชื่ออื่นๆ -

ลักษณะโดยทั่วไป

เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบเรียบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมคร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

การปลูก


การปลูกมี 2 วิธีี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 10 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตราอย่างละ 1 ส่วน ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่ม เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้านมักทำเป็นซุ้มหรือร้านโดยให้ต้นเฟื่องฟ้า
เลื้อยขึ้นไปตามธรรมชาติขนาดหลุมปลูก30x30x30เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา1:2ผสมดินปลูกการปลูกเฟื่อ
ฟ้าทั้งสองวิธีเราสามารถที่จะทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ได้รูปทรงที่เหมาะสมตามความต้องการไม่ให้ลำต้นเลื้อยก็ต้องทำการตัดแต่
ทรงพุ่มเช่นกัน เฟื่องฟ้า

การดูแลรักษา

แสง ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธุ์ ปักชำ ตอน การเสียบยอด
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า
การป้องกันกำจัด ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย
ขนาด [Size] : ขนาดกลาง
สีดอก [Flower Color] : สีขาว มีกลีบประดับสีขาว
แดง ชมพู บานเย็น และม่วงแดง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินปนทรายระบายน้ำดี
ความชื้น [Moisture] : ต่ำ
แสง [Light] : แดดเต็มวัน

ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย อายุหลายปี เลื้อยได้ไกลถึง 10 เมตร ผิวลำต้นสีน้ำตาลหรือ สีเทา ลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะของทรงพุ่มสามารถ ตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียว หรือด่างสีเขียว หรือด่างเหลือง-เขียว
ดอก (Flower) : สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบประดับมีทั้งแบบชั้นเดียว และซ้อน รูปไข่ มีสีขาว แดง ชมพู บานเย็น และม่วงแดง มี 3 กลีบขึ้นไป ซ้อนกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ปลายแผ่แบน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 เซนติเมตร ผล (Fruit) : ผลแห้ง ขนาดเล็ก มี 5 พู
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ดอกสวยมีสีสัน และหลากหลายพันธุ์ ปลูกประดับเป็นซุ้มไม้เลื้อย ปลูกเป็นแปลงในที่สาธารณะ ตัดแต่งทรงพุ่มดูแลรักษาง่ายและทนแล้งได้ดี เมื่ออากาศเย็นจะมี ดอกเต็มต้น ทำเป็นไม้บอนไซ ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่นเพราะมีหนามแหลม

ดอกผกากรอง

ดอกผกากรอง




ชื่อพื้นเมือง : ผกากรองต้น ขะจาย ตาปู ขี้กา คำขี้ไก่ สาบแร้ง
ชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lantana camara, Linn
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE



การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตัดกิ่งปักชำ

ลักษณะ : ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาโดยรอบ ลำต้นมีขนปกคลุม จับดูจะระคายมือ
ใบ รูปไข่ขอบจะจัก ปลายใบแหลม พื้นใบมีสีเขียวเข้ม ผิวของใบจะสากระคายมือ ใบออกเป็นคู่
ดอก สีเหลือง แดง ชมพู ขาว ม่วง ดอกเล็กออกเป็นกระจุก อาจมีหลายสีหรือสีเดียว ผล - เมล็ด







ประโยชน์ : ใช้ปลกเป็นไม้ดอกไม้ประดับบริเวณบ้านและสวนหย่อม


สรรพคุณ ส่วนที่นำมาใช้ทำยา คือ ใบ ดอก ราก โดยเก็บได้ตลอดปี จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้
"ใบ" มีรสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นหรือหิด ซึ่งเตรียมยาดังนี้นำใบสด10-15 กรัม มาตำและพอกบริเวณที่เป็น หรือ นำใบสดมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาชะล้างบริเวณที่เป็น
"ดอก" มีรสจืดชุ่ม แต่ให้ความรู้สึกเย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื่นและรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก โดยเตรียมยาดังนี้ ถ้าเป็นยารับประทานเพื่อรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แก้วัณโรค แก้ปวดท้องอาเจียน ให้ใช้ดอกสด 10-15 ช่อ หรือ ดอกแห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าใช้รักษารอยฟกช้ำหรือผดผื่น ให้นำดอกสดมาตำและพอกบริเวณที่เป็น
"ราก" ใช้แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม รอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระแทก โดยถ้าใช้รักษาอาการไข้ คางทูม ให้ใช้ราก 30-60กรัม ต้มน้ำดื่ม และถ้าใช้รักษาอาการปวดฟัน ใช้รากสด 30 กรัมกับเกลือจืด 30 กรัม ต้มน้ำบ้วนปาก การใช้ผกากรองรักษาโรคก็มีข้อควรระวัง คือ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน ส่วนที่ห้ามรับประทาน สำหรับทุกคนเพราะจะเกิดอันตรายจากพิษ คือ ผลแก่แต่ยังไม่สุกเนื่องจากสารกลุ่ม triterpenoid ได้แก่ lantadene A และ lantadene B ซึ่งรับประทานเมล็ดเข้าไปจะมีอาการเพลีย มึนงง ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด

ดอกราตรี

ดอกราตรี




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cestrum Nocturnum
วงศ์ : solanaceae
ชื่อสามัญ : Night Jessamine
ชื่ออื่น ๆ : Lady of the Night ,ราตรี, หอมดึก


ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
ราตรีเป็นดอกไม้ ที่มีกลิ่นหอมในเวลากลางคืนเมื่อมีดอกมันจะส่งกลิ่นไปไกล กลิ่นไม่ฉุนจนเกินไป มีกลิ่นเย็นเรื่อย ๆ ทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า หอมดึก ส่วนมากนิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินดีส

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราตรีเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นมีเปลือกเป็นสีเทาอ่อน ๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก พุ่มใบหนาต้นและใบมีกลิ่นเหม็นเขียวจัด ใบอ่อนบางรูปมนรี ปลายใบแหละโคนเรียวแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมเขียว ดอกมีขนาดเล็กและออกจับกลุ่มติดกันมากมายในช่อหนึ่ง ๆ ปลายดอกบานออกเป็นรูปดาว 5 แฉก ขนาดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. ดอกราตรีมีกลิ่นหอมจัดในเวลากลางคืน พอเช้าดอกที่บานจะหมดกลิ่นและจะหอมใหม่ในคืนต่อไป ออกดอกคราว ๆ หนึ่ง ประมาณ 5-7 วัน

การขยายพันธุ์
-การชำกิ่ง
-ตอนกิ่ง

การปลูกและการดูแลรักษา
-ราตรีในช่วงปักชำกิ่งหรือปลูกลงกระถางใหม่ ๆ ควรปลูกในที่ร่มรำไร หลังจากนั้นเมื่อตั้งตัวได้แล้วค่อยนำไปไว้กลางแจ้ง
-ราตรีชอบดินชื้นและอยู่ได้ในสภาพค่อนข้างแฉะ
-ต้องการน้ำมาก

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกทิวาราตรี


ทิวาราตรี





ชื่อวิทยาศาสตร์ Cestrum Diurnum L.

ตระกูล Solanaceae

ชื่อสามัญ Day Cestrum

ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะอินดีสตะวันตก


ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 - 5 เมตร แตกกิ่งยืดยาวจำนวนมาก
เป็นไม้ดอกหอมสกุลเดียวกับราตรี
คนไทยรู้จักกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ออกดอกดกส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ใบมีลักษณะรูปรีแกมใบหอก
ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง
ดอกเล็ก มี 5 - 6 กลีบ ปลายกลีบม้วนออกกลิ่น
หอมตอนกลางวัน เมล็ดแก่เป็นสีดำซึ่งต่างจากราตรีที่เป็นสีขาว





ฤดูกาลออกดอก - ออกดอกตลอดปี

สภาพการปลูก - ทิวาราตรี เป็นพรรณไม้ชอบ
แดดจัดหรือแดดเต็มวัน ชอบดินชุ่มชื้น ธาตุอาหารสมบูรณ์

การขยายพันธุ์ - ขยายพันธุ์โดยการตอน และการปักชำกิ่ง
การตอนกิ่งควรใช้วิธีปาดหรือกรีด ไม่ควรใช้วิธีควั่นกิ่ง
เพราะกิ่งเปราะหักง่าย

การดูแลรักษา - หมั่นตัดแต่งกิ่ง พรวนดินและใส่ปุ๋ย
กิ่งที่แตกใหม่จะแข็งแรง และจะทำให้ดอกดก


(ขอบคุณข้อมูลจาก www.maipradabonline.com/
และภาพเพิ่มเติมจาก bloggang คุณไม้หอม,www.pck1.go.th )

ดอกโมก

ดอกโมก




ชื่อสามัญ Moke
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia religiosa.
ตระกูล APOCYNACEAE
ชื่ออื่น โมกหลวง พุทธรักษา พุด


ลักษณะทั่วไป
โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ
ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆ
สีขาวประทั่วต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้น
ไม่เป็นระเบียบ

ใบเป็นใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบ
เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ
เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร
ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง
ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้นดิน
มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม
ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร
ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่
ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน
ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก
ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร


การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้าน
จะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกขหมายถึงผู้ที่
หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด
มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน

นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองปกป้องภัยอันตราย
เพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษา
ดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัย
ทั้งปวงจากภายนอกได้เช่นกัน
และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมก
สามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษสัตว์ต่างๆ ได้
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย

ควรปลูกต้นโมกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์
เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์


การปลูกมี 2 วิธี

1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน
ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ย
หมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ เพื่อประดับบริเวณหน้าบ้าน

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน
ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :
ขุยมะพร้าว:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้าง
แล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มเพราะการ
เจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น
และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เหสื่อมสภาพไป


ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์
การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ
วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ

โรคและศัตรู
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู
เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

ดอกแก้ว

ดอกแก้ว





อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Sapindales
วงศ์ Rutaceae

สกุล Murraya
สปีชีส์ Murraya paniculata



แก้ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Murraya paniculata (L.) Jack.; ชื่ออังกฤษ: Orange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree)

ชื่อพื้นเมืองอื่น

กะมูนิง, แก้วขาว, แก้วขี้ไก่ (ใต้), แก้วพริก (เหนือ), แก้วลาย, จ๊าพริก, ตะไหลแก้ว


ลักษณะทั่วไป


แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด

การปลูก
การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี


การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก
การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปแสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

การดูแลรักษา

น้ำ ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ดินร่วนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง

การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ดและการตอน

โรคและแมลง
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร


วรรณกรรม
แก้วปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นิราศธารทองแดง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย
นมตำเลียเรี่ยทางไป
หอมหวังวังเวงใจ
ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิงที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้วนอกจากนี้คนโบราณยัง มีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะ อาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธี ทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ

ดอกเข็ม

ดอกเข็ม







ชื่อพื้นเมือง : เข็ม
ชื่อวิทยาศาสตร:์ Ixora , spp.
ชื่อสามัญ : (Common Name) : West Indian Jasmine
ชื่อวงศ์ (Family Name) : Rubiaceae
การกระจายพันธุ์ :เพาะเมล็ด กิ่งชำ กิ่งตอน


ลักษณะทั่วไป
ต้นเข็ม เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางขนาดลำต้นมีความสูงประมาณ3-5 เมตรลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่สลับกันรอบต้นและกิ่ง ใบแข็งเปราะมีสีเขียวสด โคนใบมนปลายใบแหลม ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อออกตรงส่วนยอดซึ่งมีก้านดอกชูไว้ภายในช่อประกอบด้วยดอกเล็กๆลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ ซึ่งมีกลีบอยู่ส่วนบน ประมาณ 4-5 กลีบ กลีบเล็กแหลม ลักษณะดอกและสีสรรแตกต่างกันไป



การเป็นมงคลและตำแหน่งที่ปลูก

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลมคม ดังนั้นคนไทยโบรานจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ยังใช้้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ




การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูก
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกเป็นกลุ่มตกแต่งสวนบริเวณบ้านหรือปลูกเป็นแนวรั้วก็ได้ สามารถตัดแต่ง และบังคับรูปทรงได้ตามความเหมาะสม และความต้องการของผู้ปลูก ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก:

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือ กลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง สามารถทนต่อความแห้งแล้ง การให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้น
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี
การขยายพันธุ์ การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่ได้ผลดีและนิยมกัน คือ การปักชำและการตอน
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคได้ดี


ดอกบานชื่น

ดอกบานชื่น




ชื่อวิทยาศาสตร์ Zinnia Violacea Cav
ชื่อสามัญ Z. elegans Jacq
ถิ่นกำเนิด เม็กซิโก



ลักษณะทั่วไป ไม้ดอกอายุหลายปีพุ่มสูง 0.45-1 เมตร ลำต้นตรงสีเขียวอมเหลืองหรือม่วงมีขนสีขาวเส้นยาวอ่อนนุ่มแนบผิวลำต้น ใบรูปใบหอกหรือไข่แกมขอบหนามปลายแหลม โคนมน ผิวใบมีขนหยาบ ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อกระจุก มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ขนาด 4-10 เซรติเมตร กลีบดอกวงนอกรูปขอบหนาม สีขาวนวล เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง แดง และสองสีในดอกเดียวกันกลีบดอกวงในรูปหลอด สีเหลือง ดอกมีรูปทรงและการเรียงกลีบดอกหลายแบบ เมล็ดขนาดใหญ่ 100-200 เมล็ด

ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด โดยกลบเมล็ดบาง ๆ เมล็ดงอกภายใน 10-20 วันเวลาเพาะ-ออกดอก 60-90 วัน
สีข้อความ
สภาวะที่เหมาะสม แสงแดดจัด ดินปลูกระบายน้ำดี
ประโยชน์ ไม้ตัดดอก ไม้กระถาง ไม้ประดับแปลงประเภทของดอกไม้ ช่อกระจุกเล็ก
ประเภทของต้นไม้ ไม้ล้มลุก
แหล่งที่พบ ร้อนชื้น น้ำระบายได้ดีไม่ชอบน้ำขัง
การบานของดอก บานสลับทีละดอก
ตำแหน่งการเกิดดอก ปลายยอดแตกกิ่งออกตามซิกใบ และที่ยอดสุด
กลีบดอก (สี,จำนวน,ขนาด) มีหลายสี เช่น ชมพู บานเย็น แดง เหลือง ขาว
มี 20-30 กลีบขนาด1-4 ซ.ม.
จำนวนกลีบเลี้ยง (สี) สีเขียวจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดดอก
เกสรตัวผู้ (จำนวน,ขนาด,ลักษณะ) จะเป็นสีเหลืองอยู่เป็น กระจุกตรงกลางดอกมีจำนวนมากเกสรตัวผู้ จะเห็นชัดเจนเพราะอยู่ด้านบน
เกสรตัวเมียจำนวน,ขนาด,ลักษณะ) จะอยู่กับกลีบประดับ จำนวนเท่ากับกลีบประดับจะเห็นอันเล็ก ๆ โผ่ออกมานิดเดียวจากลีบดอก
กลิ่น มีกลิ่น



จากเวป
http://schoolnet.nectec.or.th/library/webcontest2003/100team/dlcs060/webforwer/Banchoen/Banchoen.htm

ดอกจำปี

ดอกจำปี




อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Magnoliales
วงศ์ Magnoliaceae

สกุล Michelia

ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia longifolia Bl.

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นอายุประมาณ 10-15 ปี ใบยาว 20 เซนติเมตร หนา สีเขียวเข้ม ใบมนรี ปลายใบแหลม ริมใบเกลี้ยง ดอกจะออกตามโคนก้านใบที่อยู่บริเวณยอดของลำต้น ใบละดอก มีสีขาวจนถึงเหลืองอ่อน ดอกจะบานตอน 2-3 ทุ่ม จำปีจะเริ่มให้ดอกเมื่อต้นมีอายุ 1 ปี ถึงปีครึ่ง และช่วงที่ให้ดอกมากที่สุดตั้งแต่ 3-5 ปี โดยจะให้ดอกเฉลี่ย 50 ดอกต่อต้น

การขยายพันธุ์ ควรใช้วิธีการตอนกิ่ง โดยเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง และควรตอนในฤดูฝนเพราะรากจะงอกง่าย

การเตรียมดิน พรวนดินและพลิกดินขึ้นตากผสมปุ๋ยคอกและปูนขาวพึ่งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมขนาด 1*1*1 เมตร ตากดินให้แห้งแล้วจึงผสมด้วยปุ๋ยคอกมูลสัตว์ 1 ปุ้งกี๋ ไว้กลบลงในหลุม รองก้นหลุมด้วยเศษกระดูกสัตว์ก่อนปลูก หากจะปลูกเพื่อเก็บดอกจำหน่าย ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 4 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ถ้าเป็นพื้นราบ แต่หากปลูกแบบยกร่องให้ปลูกเป็นแถวเดียว ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกคือ ปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม และก่อนหลังฤดูแล้งคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

การให้น้ำ หลังปลูกเสร็จแล้วควรรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น จนกว่าต้นจะตั้งตัวได้จึงรดน้ำวันละครั้ง แต่หากเป็นหน้าแล้งควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เนื่องจากหากได้น้ำไม่เพียงพอก็จะออกดอกน้อย

การให้ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 หรือ 14-14-14 (50 กิโลกรัม/ไร่) เดือนละครั้ง โดยหยอดเป็นหลุมรอบทรงพุ่มแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปุ๋ยคอกและปูนขาวให้ใส่ปีละครั้งพร้อมการพรวนดิน



จากเวป http://pokjm.212cafe.com/archive/2007-12-04/michelia-longifolia-bl-1015-20-23-1-35-50-1-111-1-4-6-2-151515-141414-50
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...