ชื่อที่เรียก ดองดึง
ชื่อสามัญ Gloriosa, Glory, Climbing lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gloriosa superba.
ชื่อวงศ์ LILIACEAE
ชื่ออื่นๆ ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี); ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู (ภาคกลาง); พันมหา (นครราชสีมา); มะขาโก้ง (ภาคเหนือ); หมอยหีย่า (อุดรธานี)
ลักษณะ
ต้น ดองดึงเป็นพรรณไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นหรือเถาเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้ ๆ
และสามารถเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นได้สูงประมาณ 3 เมตร ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินมีลักษณะเด่น
อย่างหนึ่งคือ บริเวณส่วนปลายของหัวจะมีจุดเจรญสำหรับต้นใหม่ ฉะนั้นจึงต้องระมัดระวัง
อย่าให้ปลายของหัวหรือเหง้าหัก เพราะจะทำให้ต้นเสียหายและจะไม่งอกต่อไปได้
ใบ ลักษณะของใบคล้ายรูปหสก ตรงปลายใบจะมีขอเกาะหรือหนวดสำหรับเกี่ยวพันกับต้นไม้
อื่น ตัวใบมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน ขอบใบไม่มีจัก ใบเรียบ
ดอก ลักษณะของดอกจะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกจะแยกออกจากกันขอบของกลีบดอกบิดเป็น
เกลียว มีเกสรแยกออกจากโคนกลีบดอกด้านนอกดอกหนึ่งจะมีเกสรประมาณ 6-7 อัน สี
ของดอกจะมี 2 สี คือสีเหลืองและสีแดงสดปริมาณสีทั้งสองของดอกจะเปลี่ยนแปลงไปตาม
อายุของการบานของแต่ละดอก ยิ่งดอกบานนานก็ยิ่งมีสีแดงมากขึ้นกว่าดอกตูมหรือดอกที่
เพิ่งบาน
ประโยชน์
ปัจจุบันดองดึง จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีแนวโน้มที่จะใช้ในทางการแพทย์ ทางด้านปศุสัตว์และทางด้านการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากลำต้น ใต้ดินหรือเหง้า มีสารอัลคาลอยด์ลูมิคอลชิซินในรากมีสารซูเปอร์นินใบและเปลือกหุ้มเมล็ดมีสาร คอลชิซิน และนอกจากนี้ยังมีสาร อัลคาลอยด์อื่นๆ อีกหลายชนิด แต่ที่พบมากและมีปริมาณสูงกว่าอัลคาลอยด์ชนิดอื่น คือ คอลชิซิน ซึ่งการแพทย์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิดในคน โรคไขข้ออักเสบ โรคไขข้อหรือรูมาติซึม โรคเรื้อน คุดทะราด และโรคอื่นๆ อีกหลายชนิด ในทางตรงกันข้ามสารคอลชิซิน จัดว่าเป็นสารพิษชนิดหนึ่งซึ่งถ้ารับประทานเข้าไปมาก (3มิลลิกรัม) จะทำให้หมดสติ การหายใจติดขัด ทำให้ถึงตายได้ และคอลชิซิน ยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคอีกหลายชนิด เช่นอหิวาตกโรค(Cholera) โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Typhus) บริแกต ดิซีส (Brigat's disease) ปวดท้องรุนแรง(Colic) และระคายเคืองผิวหนัง (Skin complaints) เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น