วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บอนสี


บอนสี ( Caladium ) เป็นไม้ใบที่มีสีสันและลายใบสวยงาม ตลอดจนขนาดรูปใบแตกต่างมากจนได้รับการขนานนามว่า “ ราชินีแห่งไม้ใบ ” “Queen of the Leafy Plant”

สถานการณ์การผลิต
การผลิตบอนสีในต่างประเทศ มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐฟลอริดา ที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์บอนสีจำหน่ายที่มีพื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่ ในทุกปีจะมีการจัดงาน คาลาเดียม เฟสทิวัล ( Caladium Festival ) ที่รัฐฟลอริดา ในวันที่ 27-29 สิงหาคมของทุกปี นอกจากนี้ที่ประเทศศรีลังกาจะผลิตหัวบอนสีส่งขายให้กับสหรัฐอเมริกาในราคาถูก การผลิตบอนสีของประเทศสหรัฐอเมริกา และศรีลังกาจะผลิตโดยปลูกเป็นแปลงปลูกลงดิน พื้นที่กว้างแต่สายพันธุ์บอนสีของทั้ง 2 ประเทศยังมีน้อยกว่าประเทศไทย

ประเทศไทยมีการนำเข้าบอนสีจากต่างประเทศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปลูกเลี้ยงและผสมพันธุ์บอนสีกันมานานมากกว่า 100 สายพันธุ์ ในสมัยก่อนการปลูกเลี้ยงบอนสีจะมีข้อจำกัด สายพันธุ์บอนสีที่ผสมพันธุ์ได้ใหม่จะมี ราคาแพงมากถึงหลักหมื่นบาท เทคนิคการปลูกเลี้ยงก็ยังไม่เผยแพร่นัก และที่สำคัญคือเป็นการเลี้ยงในตู้โดยเป็นการปลูกเลี้ยงเพื่อเน้นการประกวดให้ต้นสวยเด่น แต่เมื่อนำต้นออกมาไว้นอกตู้นานๆใบของต้นจะเหี่ยวได้ง่าย ทำให้มุมมองของคนที่จะซื้อไปปลูกเลี้ยงบอนสีมองว่าการปลูกเลี้ยงบอนสีนั้นดูแลยากต้องการการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดโดยแท้จริงการปลูกเลี้ยงบอนสีไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าเป็นการปลูกเลี้ยงบอนสีจากหัวพันธุ์จะสามารถเจริญเติบโตออกจากหัวพันธุ์เป็นต้นไม้ประดับที่สวยงามและแข็งแรงได้ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบกว่าต่างประเทศในด้านมีสายพันธุ์จำนวนมากกว่าต่างประเทศ

การผลิตบอนสีเพื่อการค้าของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท

• การผลิตเป็นไม้กระถาง

• การผลิตเป็ไม้หัวเพื่อการส่งออก

การผลิตต้นบอนสีเป็นไม้กระถางเพื่อการค้า

แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ

การขยายพันธุ์โดยวิธีการผ่าหัว

นำหัวจากต้นที่สมบูรณ์อายุ 6 เดือน ล้างทำความสะอาด ตัดรากเก่าออก นำหัวผึ่งในที่ร่ม 20 นาที การผ่าหัวควรหามีดที่คมบางสะอาด ผ่าหัวจากด้านบนลงมาด้านล่างเป็นชิ้นบาง ทอนเป็นชิ้นสั้นไม่เกิน 1 ซม. นำมาใส่ในภาชนะที่มีน้ำ ห้ามใช้มือล้างหัวบอนกับน้ำจะทำให้คัน ควรใช้ไม้เล็กคนเบาๆ เทน้ำทิ้ง 2-3 ครั้งให้หมดยาง นำชิ้นเนื้อบอนที่ผ่าแช่ยากำจัดเชื้อรา 10 นาที นำขึ้นมาผึ่งลมบนกระดาษหนังสือพิมพ์ นำทรายหยาบล้างน้ำให้สะอาดจนได้น้ำใสนำทรายมาใส่ในภาชนะพลาสติกหลังจากนั้นคลุมปากภาชนะด้วยพลาสติกใส วางในที่ร่มนานประมาณ 3 สัปดาห์ชิ้นบอนจะเริ่มงอก หลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงจะเริ่มมีใบ 1 ใบ ให้นำต้นกล้าย้ายปลูกลงกระถางพลาสติกขนาด 3-4 นิ้ว

• การปลูกบอนสีเป็นไม้กระถาง

ดินปลูกต้องเป็นดินร่วนซุยผสมใบไม้ผุ เช่นใบทองหลาง ใบก้ามปู นำดินมาตากให้แห้ง นำต้นกล้าย้ายปลูกลงกระถางพลาสติก ขนาด 3-4 นิ้ว ที่บรรจุดินปลูกกดดินให้แน่นนำกระถางแช่น้ำให้ชุ่มนำมาวางไว้ในตู้บอนซึ่งมีน้ำ วางตู้บอนที่แสงรำไร 50-70 เปอร์เซ็นต์ ตู้บอนสีควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 50 ซม. และมีหลังคาจั่ว สูง 30 ซม. โครงตู้ทำจากวัสดุ เช่น ไม้ , เหล็ก, ท่อพลาสติกแล้วกรุด้วยพลาสติกใส ประโยชน์ของตู้บอนคือเก็บรักษาความชุ่มชื้นทำให้ต้นบอนสีเจริญเติบโตได้ดี ง่ายต่อการดูแลรักษาต้นบอนสีภายใน 2 เดือน สามารถจำหน่ายเป็นไม้กระถางได้

แหล่งผลิตต้นบอนสีกระถางจะอยู่ในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ อยุธยา พื้นที่การผลิตประมาณ 50 ไร่ โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 300,000 กระถาง / ปี โดยผู้ปลูกเลี้ยงบอนสีจะนำต้นบอนสีกระถางที่ผลิตได้ไปขายที่ตลาดจตุจักร, ตลาดสนามหลวง 2, ตลาดมีนบุรี ฯลฯ เป็นต้น

การจำหน่ายบอนสีกระถาง

เมื่อได้ต้นบอนสีที่มีจำนวนใบตั้งแต่ 5 ใบขึ้นไป และใบดูแข็งแรง สามารถนำออกจำหน่ายได้ โดย หรือ
ผู้จำหน่ายควรมีการให้ความรู้แก่ผู้ซื้อในเรื่องของการดูแลรักษา โดยนำกระถางต้นบอนสีวางแช่น้ำในถาดรองกระถาง และให้น้ำโดยการรถน้ำลงบนดินให้ชุ่มชื้น

การผลิตบอนสีเป็นหัวเพื่อการส่งออก

หัวบอนสีเพื่อการส่งออกควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวตั้งแต่ 2 ซม.ขึ้นไปจึงจำเป็นที่จะต้องปลูกบอนสีลงดินนาน 7 เดือน เพื่อจะได้หัวที่มีขนาดใหญ่ โดยแบ่งขั้นตอนเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

1. การเตรียมพื้นที่ปลูก ควรเตรียมในช่วงเดือนเมษายน เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ดินทีค่าความเป็นกรด-ด่าง 6.5-7.0 การเตรียมพื้นที่ควรเก็บซากพืชในแปลงเผาทิ้ง ไถดินตากดินนาน 30 วัน ไถและคราดเก็บวัชพืชออกจากแปลงใช้ยูเรียผสมปูนขาวอัตราส่วน 1 : 10 ปริมาณ 880 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ลงดินก่อนไถครั้งที่ 2 แล้วจึงไถพรวนยกแปลงสูง 30 ซม. กว้าง 1.2 ม. เว้นช่องทางเดิน 0.5 ม. ย่อยหน้าดินพร้อมผสมใบไม้ผุหรือแกลงดิบเก่า กำหนดระยะปลูก 30 x 30 ซม. จำนวนต้นพันธุ์ประมาณ 10,000 ต้นต่อไร่

2. การปลูกลงแปลงในช่วงเดือน พ.ค. กรณีที่หัวบอนสีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 นิ้วเป็นต้นไป สามารถนำหัวมาผ่าเป็น 4-6 ชิ้นล้างน้ำแล้วแช่น้ำยาฆ่าเชื้อรา ลงปลูกในแปลงได้เลย แต่กรณีที่หัวบอนสีมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 ซม. ให้นำหัวบอนผ่าแล้วปลูกเลี้ยงให้ได้ต้นพันธุ์ มีอายุประมาณ 2.5 เดือน จึงนำต้นกล้ามาปลูก ให้หลุมปลูกที่รองก้นหลุมปลูกด้วยฟูราดาน กดดินให้แน่นบริเวณโคนต้น ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าดินในระยะปลูกใหม่ควรให้น้ำเช้าเย็น จนบอนสีเจริญเติบโตได้ดี หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน (เดือน มิ.ย.) ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ใส่โคนต้น อย่าให้ถูกต้นจะทำให้ต้นไหม้ หลังจากนั้นเดือนถัดไปใส่ปุ๋ยสูตร 13-21-21 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง (เดือน ก.ค.,ส.ค.,ก.ย.) หลังจากนั้น (เดือน ต.ค.) ไม่ต้องใส่ปุ๋ย เนื่องจากต้นบอนสีเริ่มพักตัว

ศัตรูพืช

ต้นบอนสีเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกี่ยวกับเชื้อราและแมลงที่พบจะได้แก่ เพลี้ยอ่อน และหนอนกินใบ

การเก็บเกี่ยวหัวบอนสี

ในช่วงเดือนต.ค. เริ่มเข้าฤดูหนาว ต้นบอนสีจะเริ่มพักตัว โดยจะค่อยๆทิ้งใบใบจะเหลืองจนไม่มีใบเหลือ ช่วงนั้นต้นบอนสีจะเข้าสู่การพักตัวควรงดการให้น้ำและขุดหัวมาล้างทำความสะอาด ชุบด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา ผึ่งในที่ร่มให้แห้งแล้วจึงนำเก็บไว้ในตะกร้า เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

การจำหน่ายหัวบอนสีส่วนใหญ่จะส่งออกไปต่างประเทศ ต้นบอนสีที่งอกจากหัวบอนสีจะทำให้ต้นแข็งแรงสามารถปลูกเป็นไม้กระถางและง่ายต่อการดูแลรักษาได้ง่าย

การตลาด

- บอนสีกระถาง ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดภายในประเทศ เช่น จตุจักร, สนามหลวง 2, ตลาดต้นไม้ทั่วไป ฯ
- หัวบอนสี ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา ฯ

ต้นคูณ


ชื่อสามัญ Golden Shower

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassis fistula Linn.

ตระกูล CAESALPINIACEAE

ชื่ออื่น คูณ ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป

ราชพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 12-15 เมตร ผิวเปลือกสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และรอยปมอยู่บริเวณที่เกิดของกิ่ง อยู่เป็นบางจุดของลำต้น ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านสบ ใบย่อยมีประมาณ 4-8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตรยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามก้านใบ ช่อยห้อยลงล่างเวลาออกดอกใบจะร่วง ดอกมีสีเหลืองภายในดอกจะมองเห็นเป็นเส้นประมาณ 8-10 อัน คือ เกสรตัวผู้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวกลม ทรงกระบอก ปลายแหลมสั้น
มีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผิวเปลือกแข็งเรียบ ภายในฝักจะมีชั้นกั้นเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องประกอบด้วยเมล็ด มีลักษณะแบน ในแต่ละช่องจะมี 1 เมล็ด และมีสารสีดำนุ่มหุ้มเมล็ดอยู่ด้วย ขนาดความยาวของฝักประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีเส้นรอบวงประมาณ
5-7 เซนติเมตร

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเพราะคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้น
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วยนอกจากนี้คนไทยโบราณเชื่ออีกว่าใบของต้นราช
พฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็น
ไม้มงคลนาม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวัตตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การปลูก

นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2
ผสมดินปลูกถ้าปลูกประดับบริเวณบ้านหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่พอ
สมควร

การดูแลรักษา

แสง องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้

ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว

ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง

การขยายพันธ์ การตอน การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

ศัตรู หนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars)

อาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ

การป้องกัน รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด

การกำจัด ใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

ดอกจำปูน


ดอกไม้ประจำจังหวัด พังงา

ชื่อสามัญ Jum-poon

ชื่อวิทยาศาสตร์ Anaxagorea siamensis

วงศ์ ANNONACEAE



ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นใบและกิ่งคล้ายๆ กระดังงา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร กิ่งก้านจะเกลี้ยง ลำต้นตรง เปลือกเรียบมีสีเทาคล้ำ ใบสีเขียวเป็นมัน พื้นใบเกลี้ยง ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามยอดหรือโคนก้านใบ

ลักษณะดอกจะแข็ง มีสีขาวเป็นมัน มี 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงตอนกลางวัน

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง แต่เพาะเมล็ดจะได้ผลดีกว่า

สภาพที่เหมาะสม เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด

ถิ่นกำเนิด ภาคใต้ของประเทศไทย

ดอกโศก


ต้นโศก เป็นต้นไม้ที่อยู่ในป่า เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุยืน นิยมปลูกตามวัด ดอกโศกมีสีแดงอมเหลือง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีแดง ดอกและยอดอ่อนนำมาทำเป็นอาหารรับประทานเป็นผักอย่างหนึ่งได้ โศกไม่นิยมปลูกตามบ้าน เนื่องจากเป็นความเชื่อว่า ชื่อไม่เป็นศิริมงคล เชื่อกันว่าถ้าปลูกต้นโศกจะทำให้คนในบ้านมีแต่เรื่องเศร้าโศก

รายการอาหาร แกงส้มดอกโศก พล่าดอกโศก ดอกโศกน้ำพริกก้อย

ดอกรัก


ดอกรัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea(Linn.) R.Br.ex Ait.

วงศ์ ACSLEPIADACEAE

ชื่อสามัญ Crown Flower, Giant Indian Milkweed, Gigantic

ลักษณะ
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.5 - 3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม
ตามกิ่งมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน
ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง 6 – 8 ซ.ม. ยาว 10 – 14 ซ.ม.
เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อ
ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน
เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 3 ซม. มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สัน
เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 6 – 8 ซม.
เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาล จำนวนมาก
มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง

ถิ่นกำเนิด เอเซียกลาง อินเดีย

ออกดอก ตลอดปี

ขยายพันธุ์ เมล็ด, ปักชำกิ่ง

ประโยชน์
เปลือกราก รักษาบิด ทำให้อาเจียน ขับเหงื่อ
ยางมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ้าถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง
ดอกทำดอกไม้ประดิษฐ์

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ดอกปีบ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.f.

ชื่อสามัญ : Cork Tree , Indian Cork

วงศ์ : BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วยแกนกกกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อกระขุกแยกแขนง ยาว 10-25 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. เชื่อมกันเป็นรูประฆังปลายตัด กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงเกลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบนยาวขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมา เป็นแผ่นบางมีปีก
ส่วนที่ใช้ : ราก ดอก ใบ

สรรพคุณ : เป็นพืชที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ในตำรายาไทย เช่น

ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด

ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาสูบมามวนเป็นบุหรี่ สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด

ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบแทนฝิ่น ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน

วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้หอบหืด ใช้ดอกแห้ง 6-7 ดอก มวนเป็นบุหรี่สูบ
นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของปีบ เพื่อหาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการรักษา ตรวจพบสาร Scutellarein และ Scutellarein-5-galactoside จากดอกปีบ ต่อมาตรวจพบว่าในใบ มีสาร hispidulin
ในผล พบ acetyl oleanolic acid
ในดอก มีสาร Scutellarein, hispidulin และ Scutellarein-5-galactoside
ในราก พบสาร hentriacontane, lapachol, hentria contanol-1, B-stosterol และ paulownin
ในส่วนของแก่นไม้และเปลือกของต้น พบสาร B-stosterol นำมาสก้ดออกจากดอกปีบแห้งโดยนำสารสกัดด้วย methanol มาแยกลำดับส่วนด้วย ปีโตรเลียมอีเธอร์ คลอโรฟอร์ม บิวธานอล และน้ำ นำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์ม จะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมในขณะที่ส่วนสกัด Butanol และน้ำ จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมหดตัว และพบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butanol จากสารสกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม จากการศึกษานี้ จึงเชื้อว่า hispidulin มีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดลม ซึ่งขณะนี้กำลังมีผู้วิจัยศึกษาถึงฤทธิ์ ขยายหลอดลมในร่างกายของสัตว์ทดลอง
สำหรับการศึกษาในด้านความปลอดภัย ของการใช้ดอกปีบในการรักษา ได้ศึกษาพิษเฉียบพลัน (acute) และกึ่งเฉียบพลัน (Subacute toxicity) อย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้ จากสารสกัดตัวใดนั้น ยังให้คำตอบไม่ได้ ต้องศึกษาสาระสำคัญแยกกันไป แม้ว่า hispidulin จะเป็นสาระสำคัญตัวหนึ่งที่แยกได้จากส่วนของคลอโรฟอร์ม พบว่าสาร hispidulin ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์มนั้น จะปรากฏอยู่ประมาณ 0.364% W/W ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาพิษของ hispidulin ที่แยกให้บริสุทธิ์ แล้วจึงจะให้คำตอบที่ชัดเจนและถูกต้อง
การศึกษาฤทธิ์อื่น ๆ ของสาร hispidulin และสารอื่น ๆ ที่แยกได้จากปีบ ควรที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมตลอดจนกลไกที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์นั้นเพื่อประเมินศักยภาพของปีบ ในการนำมาใช้ในการรักษาหอบหืดในอนาคต
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...