วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บอนสี


บอนสี ( Caladium ) เป็นไม้ใบที่มีสีสันและลายใบสวยงาม ตลอดจนขนาดรูปใบแตกต่างมากจนได้รับการขนานนามว่า “ ราชินีแห่งไม้ใบ ” “Queen of the Leafy Plant”

สถานการณ์การผลิต
การผลิตบอนสีในต่างประเทศ มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐฟลอริดา ที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์บอนสีจำหน่ายที่มีพื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่ ในทุกปีจะมีการจัดงาน คาลาเดียม เฟสทิวัล ( Caladium Festival ) ที่รัฐฟลอริดา ในวันที่ 27-29 สิงหาคมของทุกปี นอกจากนี้ที่ประเทศศรีลังกาจะผลิตหัวบอนสีส่งขายให้กับสหรัฐอเมริกาในราคาถูก การผลิตบอนสีของประเทศสหรัฐอเมริกา และศรีลังกาจะผลิตโดยปลูกเป็นแปลงปลูกลงดิน พื้นที่กว้างแต่สายพันธุ์บอนสีของทั้ง 2 ประเทศยังมีน้อยกว่าประเทศไทย

ประเทศไทยมีการนำเข้าบอนสีจากต่างประเทศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปลูกเลี้ยงและผสมพันธุ์บอนสีกันมานานมากกว่า 100 สายพันธุ์ ในสมัยก่อนการปลูกเลี้ยงบอนสีจะมีข้อจำกัด สายพันธุ์บอนสีที่ผสมพันธุ์ได้ใหม่จะมี ราคาแพงมากถึงหลักหมื่นบาท เทคนิคการปลูกเลี้ยงก็ยังไม่เผยแพร่นัก และที่สำคัญคือเป็นการเลี้ยงในตู้โดยเป็นการปลูกเลี้ยงเพื่อเน้นการประกวดให้ต้นสวยเด่น แต่เมื่อนำต้นออกมาไว้นอกตู้นานๆใบของต้นจะเหี่ยวได้ง่าย ทำให้มุมมองของคนที่จะซื้อไปปลูกเลี้ยงบอนสีมองว่าการปลูกเลี้ยงบอนสีนั้นดูแลยากต้องการการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดโดยแท้จริงการปลูกเลี้ยงบอนสีไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าเป็นการปลูกเลี้ยงบอนสีจากหัวพันธุ์จะสามารถเจริญเติบโตออกจากหัวพันธุ์เป็นต้นไม้ประดับที่สวยงามและแข็งแรงได้ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบกว่าต่างประเทศในด้านมีสายพันธุ์จำนวนมากกว่าต่างประเทศ

การผลิตบอนสีเพื่อการค้าของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท

• การผลิตเป็นไม้กระถาง

• การผลิตเป็ไม้หัวเพื่อการส่งออก

การผลิตต้นบอนสีเป็นไม้กระถางเพื่อการค้า

แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ

การขยายพันธุ์โดยวิธีการผ่าหัว

นำหัวจากต้นที่สมบูรณ์อายุ 6 เดือน ล้างทำความสะอาด ตัดรากเก่าออก นำหัวผึ่งในที่ร่ม 20 นาที การผ่าหัวควรหามีดที่คมบางสะอาด ผ่าหัวจากด้านบนลงมาด้านล่างเป็นชิ้นบาง ทอนเป็นชิ้นสั้นไม่เกิน 1 ซม. นำมาใส่ในภาชนะที่มีน้ำ ห้ามใช้มือล้างหัวบอนกับน้ำจะทำให้คัน ควรใช้ไม้เล็กคนเบาๆ เทน้ำทิ้ง 2-3 ครั้งให้หมดยาง นำชิ้นเนื้อบอนที่ผ่าแช่ยากำจัดเชื้อรา 10 นาที นำขึ้นมาผึ่งลมบนกระดาษหนังสือพิมพ์ นำทรายหยาบล้างน้ำให้สะอาดจนได้น้ำใสนำทรายมาใส่ในภาชนะพลาสติกหลังจากนั้นคลุมปากภาชนะด้วยพลาสติกใส วางในที่ร่มนานประมาณ 3 สัปดาห์ชิ้นบอนจะเริ่มงอก หลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงจะเริ่มมีใบ 1 ใบ ให้นำต้นกล้าย้ายปลูกลงกระถางพลาสติกขนาด 3-4 นิ้ว

• การปลูกบอนสีเป็นไม้กระถาง

ดินปลูกต้องเป็นดินร่วนซุยผสมใบไม้ผุ เช่นใบทองหลาง ใบก้ามปู นำดินมาตากให้แห้ง นำต้นกล้าย้ายปลูกลงกระถางพลาสติก ขนาด 3-4 นิ้ว ที่บรรจุดินปลูกกดดินให้แน่นนำกระถางแช่น้ำให้ชุ่มนำมาวางไว้ในตู้บอนซึ่งมีน้ำ วางตู้บอนที่แสงรำไร 50-70 เปอร์เซ็นต์ ตู้บอนสีควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 50 ซม. และมีหลังคาจั่ว สูง 30 ซม. โครงตู้ทำจากวัสดุ เช่น ไม้ , เหล็ก, ท่อพลาสติกแล้วกรุด้วยพลาสติกใส ประโยชน์ของตู้บอนคือเก็บรักษาความชุ่มชื้นทำให้ต้นบอนสีเจริญเติบโตได้ดี ง่ายต่อการดูแลรักษาต้นบอนสีภายใน 2 เดือน สามารถจำหน่ายเป็นไม้กระถางได้

แหล่งผลิตต้นบอนสีกระถางจะอยู่ในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ อยุธยา พื้นที่การผลิตประมาณ 50 ไร่ โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 300,000 กระถาง / ปี โดยผู้ปลูกเลี้ยงบอนสีจะนำต้นบอนสีกระถางที่ผลิตได้ไปขายที่ตลาดจตุจักร, ตลาดสนามหลวง 2, ตลาดมีนบุรี ฯลฯ เป็นต้น

การจำหน่ายบอนสีกระถาง

เมื่อได้ต้นบอนสีที่มีจำนวนใบตั้งแต่ 5 ใบขึ้นไป และใบดูแข็งแรง สามารถนำออกจำหน่ายได้ โดย หรือ
ผู้จำหน่ายควรมีการให้ความรู้แก่ผู้ซื้อในเรื่องของการดูแลรักษา โดยนำกระถางต้นบอนสีวางแช่น้ำในถาดรองกระถาง และให้น้ำโดยการรถน้ำลงบนดินให้ชุ่มชื้น

การผลิตบอนสีเป็นหัวเพื่อการส่งออก

หัวบอนสีเพื่อการส่งออกควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวตั้งแต่ 2 ซม.ขึ้นไปจึงจำเป็นที่จะต้องปลูกบอนสีลงดินนาน 7 เดือน เพื่อจะได้หัวที่มีขนาดใหญ่ โดยแบ่งขั้นตอนเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

1. การเตรียมพื้นที่ปลูก ควรเตรียมในช่วงเดือนเมษายน เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ดินทีค่าความเป็นกรด-ด่าง 6.5-7.0 การเตรียมพื้นที่ควรเก็บซากพืชในแปลงเผาทิ้ง ไถดินตากดินนาน 30 วัน ไถและคราดเก็บวัชพืชออกจากแปลงใช้ยูเรียผสมปูนขาวอัตราส่วน 1 : 10 ปริมาณ 880 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ลงดินก่อนไถครั้งที่ 2 แล้วจึงไถพรวนยกแปลงสูง 30 ซม. กว้าง 1.2 ม. เว้นช่องทางเดิน 0.5 ม. ย่อยหน้าดินพร้อมผสมใบไม้ผุหรือแกลงดิบเก่า กำหนดระยะปลูก 30 x 30 ซม. จำนวนต้นพันธุ์ประมาณ 10,000 ต้นต่อไร่

2. การปลูกลงแปลงในช่วงเดือน พ.ค. กรณีที่หัวบอนสีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 นิ้วเป็นต้นไป สามารถนำหัวมาผ่าเป็น 4-6 ชิ้นล้างน้ำแล้วแช่น้ำยาฆ่าเชื้อรา ลงปลูกในแปลงได้เลย แต่กรณีที่หัวบอนสีมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 ซม. ให้นำหัวบอนผ่าแล้วปลูกเลี้ยงให้ได้ต้นพันธุ์ มีอายุประมาณ 2.5 เดือน จึงนำต้นกล้ามาปลูก ให้หลุมปลูกที่รองก้นหลุมปลูกด้วยฟูราดาน กดดินให้แน่นบริเวณโคนต้น ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าดินในระยะปลูกใหม่ควรให้น้ำเช้าเย็น จนบอนสีเจริญเติบโตได้ดี หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน (เดือน มิ.ย.) ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ใส่โคนต้น อย่าให้ถูกต้นจะทำให้ต้นไหม้ หลังจากนั้นเดือนถัดไปใส่ปุ๋ยสูตร 13-21-21 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง (เดือน ก.ค.,ส.ค.,ก.ย.) หลังจากนั้น (เดือน ต.ค.) ไม่ต้องใส่ปุ๋ย เนื่องจากต้นบอนสีเริ่มพักตัว

ศัตรูพืช

ต้นบอนสีเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกี่ยวกับเชื้อราและแมลงที่พบจะได้แก่ เพลี้ยอ่อน และหนอนกินใบ

การเก็บเกี่ยวหัวบอนสี

ในช่วงเดือนต.ค. เริ่มเข้าฤดูหนาว ต้นบอนสีจะเริ่มพักตัว โดยจะค่อยๆทิ้งใบใบจะเหลืองจนไม่มีใบเหลือ ช่วงนั้นต้นบอนสีจะเข้าสู่การพักตัวควรงดการให้น้ำและขุดหัวมาล้างทำความสะอาด ชุบด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา ผึ่งในที่ร่มให้แห้งแล้วจึงนำเก็บไว้ในตะกร้า เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

การจำหน่ายหัวบอนสีส่วนใหญ่จะส่งออกไปต่างประเทศ ต้นบอนสีที่งอกจากหัวบอนสีจะทำให้ต้นแข็งแรงสามารถปลูกเป็นไม้กระถางและง่ายต่อการดูแลรักษาได้ง่าย

การตลาด

- บอนสีกระถาง ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดภายในประเทศ เช่น จตุจักร, สนามหลวง 2, ตลาดต้นไม้ทั่วไป ฯ
- หัวบอนสี ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา ฯ

ต้นคูณ


ชื่อสามัญ Golden Shower

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassis fistula Linn.

ตระกูล CAESALPINIACEAE

ชื่ออื่น คูณ ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป

ราชพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 12-15 เมตร ผิวเปลือกสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และรอยปมอยู่บริเวณที่เกิดของกิ่ง อยู่เป็นบางจุดของลำต้น ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านสบ ใบย่อยมีประมาณ 4-8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตรยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามก้านใบ ช่อยห้อยลงล่างเวลาออกดอกใบจะร่วง ดอกมีสีเหลืองภายในดอกจะมองเห็นเป็นเส้นประมาณ 8-10 อัน คือ เกสรตัวผู้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวกลม ทรงกระบอก ปลายแหลมสั้น
มีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผิวเปลือกแข็งเรียบ ภายในฝักจะมีชั้นกั้นเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องประกอบด้วยเมล็ด มีลักษณะแบน ในแต่ละช่องจะมี 1 เมล็ด และมีสารสีดำนุ่มหุ้มเมล็ดอยู่ด้วย ขนาดความยาวของฝักประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีเส้นรอบวงประมาณ
5-7 เซนติเมตร

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเพราะคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้น
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วยนอกจากนี้คนไทยโบราณเชื่ออีกว่าใบของต้นราช
พฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็น
ไม้มงคลนาม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวัตตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การปลูก

นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2
ผสมดินปลูกถ้าปลูกประดับบริเวณบ้านหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่พอ
สมควร

การดูแลรักษา

แสง องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้

ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว

ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง

การขยายพันธ์ การตอน การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

ศัตรู หนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars)

อาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ

การป้องกัน รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด

การกำจัด ใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

ดอกจำปูน


ดอกไม้ประจำจังหวัด พังงา

ชื่อสามัญ Jum-poon

ชื่อวิทยาศาสตร์ Anaxagorea siamensis

วงศ์ ANNONACEAE



ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นใบและกิ่งคล้ายๆ กระดังงา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร กิ่งก้านจะเกลี้ยง ลำต้นตรง เปลือกเรียบมีสีเทาคล้ำ ใบสีเขียวเป็นมัน พื้นใบเกลี้ยง ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามยอดหรือโคนก้านใบ

ลักษณะดอกจะแข็ง มีสีขาวเป็นมัน มี 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงตอนกลางวัน

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง แต่เพาะเมล็ดจะได้ผลดีกว่า

สภาพที่เหมาะสม เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด

ถิ่นกำเนิด ภาคใต้ของประเทศไทย

ดอกโศก


ต้นโศก เป็นต้นไม้ที่อยู่ในป่า เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุยืน นิยมปลูกตามวัด ดอกโศกมีสีแดงอมเหลือง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีแดง ดอกและยอดอ่อนนำมาทำเป็นอาหารรับประทานเป็นผักอย่างหนึ่งได้ โศกไม่นิยมปลูกตามบ้าน เนื่องจากเป็นความเชื่อว่า ชื่อไม่เป็นศิริมงคล เชื่อกันว่าถ้าปลูกต้นโศกจะทำให้คนในบ้านมีแต่เรื่องเศร้าโศก

รายการอาหาร แกงส้มดอกโศก พล่าดอกโศก ดอกโศกน้ำพริกก้อย

ดอกรัก


ดอกรัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea(Linn.) R.Br.ex Ait.

วงศ์ ACSLEPIADACEAE

ชื่อสามัญ Crown Flower, Giant Indian Milkweed, Gigantic

ลักษณะ
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.5 - 3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม
ตามกิ่งมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน
ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง 6 – 8 ซ.ม. ยาว 10 – 14 ซ.ม.
เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อ
ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน
เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 3 ซม. มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สัน
เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 6 – 8 ซม.
เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาล จำนวนมาก
มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง

ถิ่นกำเนิด เอเซียกลาง อินเดีย

ออกดอก ตลอดปี

ขยายพันธุ์ เมล็ด, ปักชำกิ่ง

ประโยชน์
เปลือกราก รักษาบิด ทำให้อาเจียน ขับเหงื่อ
ยางมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ้าถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง
ดอกทำดอกไม้ประดิษฐ์

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ดอกปีบ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.f.

ชื่อสามัญ : Cork Tree , Indian Cork

วงศ์ : BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วยแกนกกกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อกระขุกแยกแขนง ยาว 10-25 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. เชื่อมกันเป็นรูประฆังปลายตัด กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงเกลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบนยาวขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมา เป็นแผ่นบางมีปีก
ส่วนที่ใช้ : ราก ดอก ใบ

สรรพคุณ : เป็นพืชที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ในตำรายาไทย เช่น

ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด

ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาสูบมามวนเป็นบุหรี่ สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด

ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบแทนฝิ่น ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน

วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้หอบหืด ใช้ดอกแห้ง 6-7 ดอก มวนเป็นบุหรี่สูบ
นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของปีบ เพื่อหาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการรักษา ตรวจพบสาร Scutellarein และ Scutellarein-5-galactoside จากดอกปีบ ต่อมาตรวจพบว่าในใบ มีสาร hispidulin
ในผล พบ acetyl oleanolic acid
ในดอก มีสาร Scutellarein, hispidulin และ Scutellarein-5-galactoside
ในราก พบสาร hentriacontane, lapachol, hentria contanol-1, B-stosterol และ paulownin
ในส่วนของแก่นไม้และเปลือกของต้น พบสาร B-stosterol นำมาสก้ดออกจากดอกปีบแห้งโดยนำสารสกัดด้วย methanol มาแยกลำดับส่วนด้วย ปีโตรเลียมอีเธอร์ คลอโรฟอร์ม บิวธานอล และน้ำ นำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์ม จะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมในขณะที่ส่วนสกัด Butanol และน้ำ จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมหดตัว และพบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butanol จากสารสกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม จากการศึกษานี้ จึงเชื้อว่า hispidulin มีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดลม ซึ่งขณะนี้กำลังมีผู้วิจัยศึกษาถึงฤทธิ์ ขยายหลอดลมในร่างกายของสัตว์ทดลอง
สำหรับการศึกษาในด้านความปลอดภัย ของการใช้ดอกปีบในการรักษา ได้ศึกษาพิษเฉียบพลัน (acute) และกึ่งเฉียบพลัน (Subacute toxicity) อย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้ จากสารสกัดตัวใดนั้น ยังให้คำตอบไม่ได้ ต้องศึกษาสาระสำคัญแยกกันไป แม้ว่า hispidulin จะเป็นสาระสำคัญตัวหนึ่งที่แยกได้จากส่วนของคลอโรฟอร์ม พบว่าสาร hispidulin ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์มนั้น จะปรากฏอยู่ประมาณ 0.364% W/W ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาพิษของ hispidulin ที่แยกให้บริสุทธิ์ แล้วจึงจะให้คำตอบที่ชัดเจนและถูกต้อง
การศึกษาฤทธิ์อื่น ๆ ของสาร hispidulin และสารอื่น ๆ ที่แยกได้จากปีบ ควรที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมตลอดจนกลไกที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์นั้นเพื่อประเมินศักยภาพของปีบ ในการนำมาใช้ในการรักษาหอบหืดในอนาคต

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

หงอนไก่

หงอนไก่






หงอนไก่
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนักใบเป็นใบเดี่ยว จะออกรวมกันเป็นกลุ่มตามข้อลำต้น ใบมีสีเขียว ดอกจริงๆ ของหงอนไก่มีขนาดเล็กเป็นละออง แต่จะออกติดกันเป็นช่อใหญ่และแน่นหนา ดอกมีหลายสี เช่นแดง ชมพู ขาว เหลือง

ส่วนที่ใช้
ลำต้น ก้านและใบ ดอก เมล็ด


สรรพคุณ
ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้โรคท้องร่วง อาเจียนเป็นเลือด ริดสีดวงทวารมีเลือดออก กระอักเลือดตกเลือด หรือใช้เป็นยาพอกแก้ตะขาบกัด โดยใช้ต้นที่อ่อนตำแล้วพอก
ก้านและใบ ใช้ก้านและใบสดหรือแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาระบาย แก้รดสีดวงทวารที่มีเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ตกเลือดและเป็นโรคบิด หรือใช้ตำพอกบาดแผลที่มีเลือด ผิวหนังเป็นผดผื่นคัน
ดอก ใช้ดอกสดหรือแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ไอ หรืออาเจียนเป็นเลือด เลือดไหลไม่หยุด ประจำเดือนมามากผิดปกติ เลือดกำเดาออก ตกเลือด ตกขาว ปวดหัว เป็นผดผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และเป็นโรคตาแดง
เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง นำมาต้มหรือใช้ทำเป็นยาเม็ดกิน เป็นยาแก้ความดันโลหิตสูง ตาฟางในเวลากลางคืน แก้อุจจาระเป็นเลือด บิด ถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาออก ห้ามเลือดหรือผิวหนังเป็นผดผื่นคันร้อนแดงเป็นต้น

ดอกเฟื่องฟ้า

ดอกเฟื่องฟ้า





อาณาจักร พืช (Plantae)
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Caryophyllales
วงศ์ Nyctaginaceae

สกุล Bougainvillea

ชื่อไทย เฟื่องฟ้า
ชื่อสามัญ Bougainvillea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.
ตระกูล NYCTAGINACEAE
วงศ์ -
ถิ่นกำเนิด บราซิล
ชื่ออื่นๆ -

ลักษณะโดยทั่วไป

เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบเรียบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมคร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

การปลูก


การปลูกมี 2 วิธีี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 10 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตราอย่างละ 1 ส่วน ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่ม เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้านมักทำเป็นซุ้มหรือร้านโดยให้ต้นเฟื่องฟ้า
เลื้อยขึ้นไปตามธรรมชาติขนาดหลุมปลูก30x30x30เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา1:2ผสมดินปลูกการปลูกเฟื่อ
ฟ้าทั้งสองวิธีเราสามารถที่จะทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ได้รูปทรงที่เหมาะสมตามความต้องการไม่ให้ลำต้นเลื้อยก็ต้องทำการตัดแต่
ทรงพุ่มเช่นกัน เฟื่องฟ้า

การดูแลรักษา

แสง ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธุ์ ปักชำ ตอน การเสียบยอด
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า
การป้องกันกำจัด ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย
ขนาด [Size] : ขนาดกลาง
สีดอก [Flower Color] : สีขาว มีกลีบประดับสีขาว
แดง ชมพู บานเย็น และม่วงแดง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินปนทรายระบายน้ำดี
ความชื้น [Moisture] : ต่ำ
แสง [Light] : แดดเต็มวัน

ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย อายุหลายปี เลื้อยได้ไกลถึง 10 เมตร ผิวลำต้นสีน้ำตาลหรือ สีเทา ลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะของทรงพุ่มสามารถ ตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียว หรือด่างสีเขียว หรือด่างเหลือง-เขียว
ดอก (Flower) : สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบประดับมีทั้งแบบชั้นเดียว และซ้อน รูปไข่ มีสีขาว แดง ชมพู บานเย็น และม่วงแดง มี 3 กลีบขึ้นไป ซ้อนกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ปลายแผ่แบน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 เซนติเมตร ผล (Fruit) : ผลแห้ง ขนาดเล็ก มี 5 พู
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ดอกสวยมีสีสัน และหลากหลายพันธุ์ ปลูกประดับเป็นซุ้มไม้เลื้อย ปลูกเป็นแปลงในที่สาธารณะ ตัดแต่งทรงพุ่มดูแลรักษาง่ายและทนแล้งได้ดี เมื่ออากาศเย็นจะมี ดอกเต็มต้น ทำเป็นไม้บอนไซ ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่นเพราะมีหนามแหลม

ดอกผกากรอง

ดอกผกากรอง




ชื่อพื้นเมือง : ผกากรองต้น ขะจาย ตาปู ขี้กา คำขี้ไก่ สาบแร้ง
ชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lantana camara, Linn
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE



การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตัดกิ่งปักชำ

ลักษณะ : ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาโดยรอบ ลำต้นมีขนปกคลุม จับดูจะระคายมือ
ใบ รูปไข่ขอบจะจัก ปลายใบแหลม พื้นใบมีสีเขียวเข้ม ผิวของใบจะสากระคายมือ ใบออกเป็นคู่
ดอก สีเหลือง แดง ชมพู ขาว ม่วง ดอกเล็กออกเป็นกระจุก อาจมีหลายสีหรือสีเดียว ผล - เมล็ด







ประโยชน์ : ใช้ปลกเป็นไม้ดอกไม้ประดับบริเวณบ้านและสวนหย่อม


สรรพคุณ ส่วนที่นำมาใช้ทำยา คือ ใบ ดอก ราก โดยเก็บได้ตลอดปี จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้
"ใบ" มีรสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นหรือหิด ซึ่งเตรียมยาดังนี้นำใบสด10-15 กรัม มาตำและพอกบริเวณที่เป็น หรือ นำใบสดมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาชะล้างบริเวณที่เป็น
"ดอก" มีรสจืดชุ่ม แต่ให้ความรู้สึกเย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื่นและรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก โดยเตรียมยาดังนี้ ถ้าเป็นยารับประทานเพื่อรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แก้วัณโรค แก้ปวดท้องอาเจียน ให้ใช้ดอกสด 10-15 ช่อ หรือ ดอกแห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าใช้รักษารอยฟกช้ำหรือผดผื่น ให้นำดอกสดมาตำและพอกบริเวณที่เป็น
"ราก" ใช้แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม รอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระแทก โดยถ้าใช้รักษาอาการไข้ คางทูม ให้ใช้ราก 30-60กรัม ต้มน้ำดื่ม และถ้าใช้รักษาอาการปวดฟัน ใช้รากสด 30 กรัมกับเกลือจืด 30 กรัม ต้มน้ำบ้วนปาก การใช้ผกากรองรักษาโรคก็มีข้อควรระวัง คือ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน ส่วนที่ห้ามรับประทาน สำหรับทุกคนเพราะจะเกิดอันตรายจากพิษ คือ ผลแก่แต่ยังไม่สุกเนื่องจากสารกลุ่ม triterpenoid ได้แก่ lantadene A และ lantadene B ซึ่งรับประทานเมล็ดเข้าไปจะมีอาการเพลีย มึนงง ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด

ดอกราตรี

ดอกราตรี




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cestrum Nocturnum
วงศ์ : solanaceae
ชื่อสามัญ : Night Jessamine
ชื่ออื่น ๆ : Lady of the Night ,ราตรี, หอมดึก


ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
ราตรีเป็นดอกไม้ ที่มีกลิ่นหอมในเวลากลางคืนเมื่อมีดอกมันจะส่งกลิ่นไปไกล กลิ่นไม่ฉุนจนเกินไป มีกลิ่นเย็นเรื่อย ๆ ทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า หอมดึก ส่วนมากนิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินดีส

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราตรีเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นมีเปลือกเป็นสีเทาอ่อน ๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก พุ่มใบหนาต้นและใบมีกลิ่นเหม็นเขียวจัด ใบอ่อนบางรูปมนรี ปลายใบแหละโคนเรียวแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมเขียว ดอกมีขนาดเล็กและออกจับกลุ่มติดกันมากมายในช่อหนึ่ง ๆ ปลายดอกบานออกเป็นรูปดาว 5 แฉก ขนาดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. ดอกราตรีมีกลิ่นหอมจัดในเวลากลางคืน พอเช้าดอกที่บานจะหมดกลิ่นและจะหอมใหม่ในคืนต่อไป ออกดอกคราว ๆ หนึ่ง ประมาณ 5-7 วัน

การขยายพันธุ์
-การชำกิ่ง
-ตอนกิ่ง

การปลูกและการดูแลรักษา
-ราตรีในช่วงปักชำกิ่งหรือปลูกลงกระถางใหม่ ๆ ควรปลูกในที่ร่มรำไร หลังจากนั้นเมื่อตั้งตัวได้แล้วค่อยนำไปไว้กลางแจ้ง
-ราตรีชอบดินชื้นและอยู่ได้ในสภาพค่อนข้างแฉะ
-ต้องการน้ำมาก

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกทิวาราตรี


ทิวาราตรี





ชื่อวิทยาศาสตร์ Cestrum Diurnum L.

ตระกูล Solanaceae

ชื่อสามัญ Day Cestrum

ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะอินดีสตะวันตก


ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 - 5 เมตร แตกกิ่งยืดยาวจำนวนมาก
เป็นไม้ดอกหอมสกุลเดียวกับราตรี
คนไทยรู้จักกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ออกดอกดกส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ใบมีลักษณะรูปรีแกมใบหอก
ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง
ดอกเล็ก มี 5 - 6 กลีบ ปลายกลีบม้วนออกกลิ่น
หอมตอนกลางวัน เมล็ดแก่เป็นสีดำซึ่งต่างจากราตรีที่เป็นสีขาว





ฤดูกาลออกดอก - ออกดอกตลอดปี

สภาพการปลูก - ทิวาราตรี เป็นพรรณไม้ชอบ
แดดจัดหรือแดดเต็มวัน ชอบดินชุ่มชื้น ธาตุอาหารสมบูรณ์

การขยายพันธุ์ - ขยายพันธุ์โดยการตอน และการปักชำกิ่ง
การตอนกิ่งควรใช้วิธีปาดหรือกรีด ไม่ควรใช้วิธีควั่นกิ่ง
เพราะกิ่งเปราะหักง่าย

การดูแลรักษา - หมั่นตัดแต่งกิ่ง พรวนดินและใส่ปุ๋ย
กิ่งที่แตกใหม่จะแข็งแรง และจะทำให้ดอกดก


(ขอบคุณข้อมูลจาก www.maipradabonline.com/
และภาพเพิ่มเติมจาก bloggang คุณไม้หอม,www.pck1.go.th )

ดอกโมก

ดอกโมก




ชื่อสามัญ Moke
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia religiosa.
ตระกูล APOCYNACEAE
ชื่ออื่น โมกหลวง พุทธรักษา พุด


ลักษณะทั่วไป
โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ
ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆ
สีขาวประทั่วต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้น
ไม่เป็นระเบียบ

ใบเป็นใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบ
เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ
เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร
ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง
ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้นดิน
มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม
ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร
ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่
ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน
ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก
ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร


การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้าน
จะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกขหมายถึงผู้ที่
หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด
มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน

นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองปกป้องภัยอันตราย
เพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษา
ดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัย
ทั้งปวงจากภายนอกได้เช่นกัน
และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมก
สามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษสัตว์ต่างๆ ได้
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย

ควรปลูกต้นโมกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์
เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์


การปลูกมี 2 วิธี

1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน
ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ย
หมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ เพื่อประดับบริเวณหน้าบ้าน

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน
ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :
ขุยมะพร้าว:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้าง
แล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มเพราะการ
เจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น
และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เหสื่อมสภาพไป


ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์
การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ
วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ

โรคและศัตรู
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู
เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

ดอกแก้ว

ดอกแก้ว





อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Sapindales
วงศ์ Rutaceae

สกุล Murraya
สปีชีส์ Murraya paniculata



แก้ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Murraya paniculata (L.) Jack.; ชื่ออังกฤษ: Orange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree)

ชื่อพื้นเมืองอื่น

กะมูนิง, แก้วขาว, แก้วขี้ไก่ (ใต้), แก้วพริก (เหนือ), แก้วลาย, จ๊าพริก, ตะไหลแก้ว


ลักษณะทั่วไป


แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด

การปลูก
การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี


การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก
การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปแสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

การดูแลรักษา

น้ำ ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ดินร่วนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง

การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ดและการตอน

โรคและแมลง
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร


วรรณกรรม
แก้วปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นิราศธารทองแดง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย
นมตำเลียเรี่ยทางไป
หอมหวังวังเวงใจ
ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิงที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้วนอกจากนี้คนโบราณยัง มีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะ อาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธี ทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ

ดอกเข็ม

ดอกเข็ม







ชื่อพื้นเมือง : เข็ม
ชื่อวิทยาศาสตร:์ Ixora , spp.
ชื่อสามัญ : (Common Name) : West Indian Jasmine
ชื่อวงศ์ (Family Name) : Rubiaceae
การกระจายพันธุ์ :เพาะเมล็ด กิ่งชำ กิ่งตอน


ลักษณะทั่วไป
ต้นเข็ม เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางขนาดลำต้นมีความสูงประมาณ3-5 เมตรลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่สลับกันรอบต้นและกิ่ง ใบแข็งเปราะมีสีเขียวสด โคนใบมนปลายใบแหลม ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อออกตรงส่วนยอดซึ่งมีก้านดอกชูไว้ภายในช่อประกอบด้วยดอกเล็กๆลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ ซึ่งมีกลีบอยู่ส่วนบน ประมาณ 4-5 กลีบ กลีบเล็กแหลม ลักษณะดอกและสีสรรแตกต่างกันไป



การเป็นมงคลและตำแหน่งที่ปลูก

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลมคม ดังนั้นคนไทยโบรานจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ยังใช้้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ




การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูก
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกเป็นกลุ่มตกแต่งสวนบริเวณบ้านหรือปลูกเป็นแนวรั้วก็ได้ สามารถตัดแต่ง และบังคับรูปทรงได้ตามความเหมาะสม และความต้องการของผู้ปลูก ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก:

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือ กลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง สามารถทนต่อความแห้งแล้ง การให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้น
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี
การขยายพันธุ์ การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่ได้ผลดีและนิยมกัน คือ การปักชำและการตอน
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคได้ดี


ดอกบานชื่น

ดอกบานชื่น




ชื่อวิทยาศาสตร์ Zinnia Violacea Cav
ชื่อสามัญ Z. elegans Jacq
ถิ่นกำเนิด เม็กซิโก



ลักษณะทั่วไป ไม้ดอกอายุหลายปีพุ่มสูง 0.45-1 เมตร ลำต้นตรงสีเขียวอมเหลืองหรือม่วงมีขนสีขาวเส้นยาวอ่อนนุ่มแนบผิวลำต้น ใบรูปใบหอกหรือไข่แกมขอบหนามปลายแหลม โคนมน ผิวใบมีขนหยาบ ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อกระจุก มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ขนาด 4-10 เซรติเมตร กลีบดอกวงนอกรูปขอบหนาม สีขาวนวล เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง แดง และสองสีในดอกเดียวกันกลีบดอกวงในรูปหลอด สีเหลือง ดอกมีรูปทรงและการเรียงกลีบดอกหลายแบบ เมล็ดขนาดใหญ่ 100-200 เมล็ด

ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด โดยกลบเมล็ดบาง ๆ เมล็ดงอกภายใน 10-20 วันเวลาเพาะ-ออกดอก 60-90 วัน
สีข้อความ
สภาวะที่เหมาะสม แสงแดดจัด ดินปลูกระบายน้ำดี
ประโยชน์ ไม้ตัดดอก ไม้กระถาง ไม้ประดับแปลงประเภทของดอกไม้ ช่อกระจุกเล็ก
ประเภทของต้นไม้ ไม้ล้มลุก
แหล่งที่พบ ร้อนชื้น น้ำระบายได้ดีไม่ชอบน้ำขัง
การบานของดอก บานสลับทีละดอก
ตำแหน่งการเกิดดอก ปลายยอดแตกกิ่งออกตามซิกใบ และที่ยอดสุด
กลีบดอก (สี,จำนวน,ขนาด) มีหลายสี เช่น ชมพู บานเย็น แดง เหลือง ขาว
มี 20-30 กลีบขนาด1-4 ซ.ม.
จำนวนกลีบเลี้ยง (สี) สีเขียวจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดดอก
เกสรตัวผู้ (จำนวน,ขนาด,ลักษณะ) จะเป็นสีเหลืองอยู่เป็น กระจุกตรงกลางดอกมีจำนวนมากเกสรตัวผู้ จะเห็นชัดเจนเพราะอยู่ด้านบน
เกสรตัวเมียจำนวน,ขนาด,ลักษณะ) จะอยู่กับกลีบประดับ จำนวนเท่ากับกลีบประดับจะเห็นอันเล็ก ๆ โผ่ออกมานิดเดียวจากลีบดอก
กลิ่น มีกลิ่น



จากเวป
http://schoolnet.nectec.or.th/library/webcontest2003/100team/dlcs060/webforwer/Banchoen/Banchoen.htm

ดอกจำปี

ดอกจำปี




อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Magnoliales
วงศ์ Magnoliaceae

สกุล Michelia

ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia longifolia Bl.

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นอายุประมาณ 10-15 ปี ใบยาว 20 เซนติเมตร หนา สีเขียวเข้ม ใบมนรี ปลายใบแหลม ริมใบเกลี้ยง ดอกจะออกตามโคนก้านใบที่อยู่บริเวณยอดของลำต้น ใบละดอก มีสีขาวจนถึงเหลืองอ่อน ดอกจะบานตอน 2-3 ทุ่ม จำปีจะเริ่มให้ดอกเมื่อต้นมีอายุ 1 ปี ถึงปีครึ่ง และช่วงที่ให้ดอกมากที่สุดตั้งแต่ 3-5 ปี โดยจะให้ดอกเฉลี่ย 50 ดอกต่อต้น

การขยายพันธุ์ ควรใช้วิธีการตอนกิ่ง โดยเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง และควรตอนในฤดูฝนเพราะรากจะงอกง่าย

การเตรียมดิน พรวนดินและพลิกดินขึ้นตากผสมปุ๋ยคอกและปูนขาวพึ่งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมขนาด 1*1*1 เมตร ตากดินให้แห้งแล้วจึงผสมด้วยปุ๋ยคอกมูลสัตว์ 1 ปุ้งกี๋ ไว้กลบลงในหลุม รองก้นหลุมด้วยเศษกระดูกสัตว์ก่อนปลูก หากจะปลูกเพื่อเก็บดอกจำหน่าย ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 4 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ถ้าเป็นพื้นราบ แต่หากปลูกแบบยกร่องให้ปลูกเป็นแถวเดียว ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกคือ ปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม และก่อนหลังฤดูแล้งคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

การให้น้ำ หลังปลูกเสร็จแล้วควรรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น จนกว่าต้นจะตั้งตัวได้จึงรดน้ำวันละครั้ง แต่หากเป็นหน้าแล้งควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เนื่องจากหากได้น้ำไม่เพียงพอก็จะออกดอกน้อย

การให้ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 หรือ 14-14-14 (50 กิโลกรัม/ไร่) เดือนละครั้ง โดยหยอดเป็นหลุมรอบทรงพุ่มแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปุ๋ยคอกและปูนขาวให้ใส่ปีละครั้งพร้อมการพรวนดิน



จากเวป http://pokjm.212cafe.com/archive/2007-12-04/michelia-longifolia-bl-1015-20-23-1-35-50-1-111-1-4-6-2-151515-141414-50

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กุหลาบสื่อความหมาย

กุหลาบสื่อความหมาย




หลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง
นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า
สีกุหลาบสื่อความหมาย
ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้


สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปราถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ

สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์

สีขาว สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง

สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ



สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย


ช่อกุหลาบสื่อความหมาย

จำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เค้าคนนั้นอาจกำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้
จำนวนดอกกุหลาบ


1
เธอเป็นหนึ่งเดียวของฉันเท่านั้น

2
มีเพียงเธอกับฉัน

3
ฉันรักเธอ

5
การให้ที่ไม่มีอะไรต้องเสียใจ

9
อยู่ด้วยกันยืนยาวและมั่นคง

11
รักเธอที่สุด

24
ฉันคิดถึงเธอตลอดเวลา

100
เราจะถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร

365
ฉันคิดถึงเธอทุกๆวัน



ตำนานดอกกุหลาบ

ตำนานที่ 1

เป็นเรื่องเล่าตามบันทึกของศาสนาคริสต์ จารึกโดย "เซนต์แอมโบรส"ว่า กุหลาบถูกส่งลงมาจากสวรรค์
พร้อมกับหนามอันแหลมคม เพื่อเตือนให้มนุษย์ระลึกถึงความเจ็บปวด ที่เกิดจาก ความประพฤติผิดของตน
เมื่อครั้งที่ อาดัมมนุษย์ผู้ชายคนแรกของโลก พลาดพลั้งทำตัวให้เปื้อนบาป แต่พระเจ้ายังได้มอบความงาม
และความหอมของกุหลาบ เพื่อให้มนุษย์พึงระลึกว่าชีวิตยังมีความหวัง และสามารถถ่ายถอนบาปได้เช่นกัน

ตำนานที่ 2

เล่าถึง...สีแดงของดอกกุหลาบว่า เดิมทีกุหลาบมีสีขาวบริสุทธิ์เพียงสีเดียว แต่เมื่อ อีฟ หญิงสาวคนแรกของโลก
ไปจุมพิต ดอกกุหลาบเข้า จึงทำให้ดอกกุหลาบมีสีแดง บางกระแสเล่าว่า อีฟเป็นคนตั้งชื่อดอกไม้ที่เธอโปรดปราน
ชนิดนี้ว่า... "Rose" และกุหลาบเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่ออดัมกับอีฟถูกไล่ออกจากสวนอีเดน สื่อความหมายถึง
การที่มนุษย์เอาบาปไปแปดเปื้อนสีขาว บริสุทธิ์ของดอกไม้ ให้เปลี่ยนเป็นสีแดงแห่งกิเลส และตัณหา

ตำนานที่ 3

กล่าวว่า กุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง
ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ"คลอริส" บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์
เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ และมีเทพอีก สามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี
เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับ แสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมา
เพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทาน น้ำอมฤต และกลิ่นหอม
เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ ซึ่งมีกลิ่นหอม และทรงเสน่ห์นี้ว่า...
"Rosa" จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินี
แห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก "กุหลาบ"
จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่ง
ความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย
ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ ของความเงียบ และความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง


กรีก

มีตำนานเล่าถึงกำเนิดของดอกกุหลาบ ตามความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าของกรีก ด้วยเช่นกันว่า เมื่อครั้งที่
เทวีแห่งความรักนามว่า... " อโฟรไดท์ " (venus) ถือกำเนิดขึ้นจากท้องทะเล กุหลาบก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
จากฟองคลื่นขาวสะอาดที่สาดซัดมาต้อนรับ
การเกิดของอโฟรไดท์ กุหลาบทุกดอกยังคงมีสีขาวบริสุทธิ์ เหมือนตอนที่ถือกำเนิดขึ้นมา จนกระทั่งวันหนึ่ง
อาโดนิสชู้รักคนหนึ่ง ของอโฟรไดท์ได้รับบาดเจ็บ จนถึงแก่ความตายในการล่าหมูป่า กุหลาบแดงจึงมีขึ้นมาในโลก
สีแดงของกุหลาบเกิดจาก เลือดของชายหนุ่มที่หยดลงไปโดนกุหลาบที่อยู่ใกล้ บ้างก็เล่าว่า ระหว่างที่อโฟรไดท์
เร่งรีบจะไปช่วยชายคนรักเกิดโดนหนามกุหลาบ เกี่ยวและเลือดที่รินไหลทำให้กุหลาบกลายเป็นสีแดง
และนั่นคือที่มาของกุหลาบแดงที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก

โรมัน

กล่าวถึงตำนานของดอกกุหลาบว่า คิวปิดลูกชายของวีนัส เป็นผู้ทำเหล้าองุ่นหกรดดอกกุหลาบหลายดอก
กุหลาบเหล่านั้นจึงมีสีแดง
ส่วนหนามที่แหลมคมของกุหลาบเกิดขึ้นจากความ โกรธเคืองในขณะที่คิวปิดกำลังชื่นชมความหอมของดอกกุหลาบ
กลับ โดนผึ้งต่อย คิวปิดจึงควักธนูมายิงใส่พุ่มกุหลาบทำให้กุหลาบมีหนามที่แหลมคม

เปอร์เซียร์

มีตำนานเล่าขานถึงกำเนิดของกุหลาบแดงไว้เกี่ยวกับเจ้านกไนติงเกลตัวแรกของโลกมีความปรารถนา
ที่จะกล่อมราตรีกาลให้หวานชื่น ด้วยเสียงอันไพเราะของมันแต่ด้วยกลัวว่า จะเผลอหลับ เจ้านกไนติงเกลจึงปักอก
ของตัวเองลงที่หนามกุหลาบทำให้มันสามารถทำได้ ดังที่ตั้งใจไว เลือดของเจ้านกไนติงเกล
ที่หยาดหยดจึงทำให้ดอกกุหลาบมีสีแดง





วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มะลิลา

มะลิลา



ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton

ชื่อสามัญ: Arabian Jasmine, Jusmine, Kampopot

ชื่ออื่น: มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิป้อม (ภาคเกนือ), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), ข้าวแตก (ฉาน-แม่อ่องสอน), เตียมุน (ละว้า-เชียงใหม่), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่)

วงศ์: OLEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ไม้พุ่ม แกมเถา กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ สีขาว

ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่ รีหรือรีขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบมนหรือสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านท้องใบเห็นเส้นใบชัดเจน เส้นใบขนาดใหญ่มี 4-6 คู่ ก้านใบสั้นมากและมีขน




ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน มีกลิ่นหอมแรง แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็น เส้น เกสรเพศผู้ 2 อันติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว มักไม่ติดผล

ดาวกระจาย

ดาวกระจาย





การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Asterales
วงศ์ Compositae

สกุล Cosmos
สปีชีส์ Cosmos sulphureus

ชื่อสามัญ : Mexican Diasy, Cosmos
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cosmos sulphureus Cav.
ตระกูล : Compositae
ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง






ลักษณะทั่วไป

ดาวกระจายมีพุ่มต้นสูง 3-4 ฟุต เป็นไม้ดอกที่พบปลูกตามรั้วบ้าน และขึ้นเองทั่วไปตามริมทาง
เมล็ดงอกง่ายเจริญเติบโตเร็วเมื่อต้นโตเต็มที่จะออกดอกสะพรั่งทยอยบานนาน 4- 6 สัปดาห์จากนั้นดอกจะโรยพร้อมกับติดเมล็ดเพราะดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่งดอกวงนอกเป็นหมันกลีบดอกมีสีต่างๆมีตั้งแต่สีชมพู ชมพูอมม่วง แดง ขาว กลีบดอกบาง มี 8 กลีบสีเหลืองถึงสมมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์ดอกซ้อนมีพุ่มเตี้ย ส่วนดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักส่วนมากเป็นดอกชั้นเดียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก ประมาณ 3 นิ้ว


สภาพการปลูก

ดาวกระจายเป็นไม้ดอกอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่ายและโตเร็ว สามารถขึ้นได้ในทุกที่ ๆ มีแสงแดดจัด ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน หนาวหรือฝน


การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด






การดูแลรักษา


การรดน้ำทำตามความจำเป็น เตรียมดินก่อนปลูกให้พอสมควร เมื่อต้นงอกและมีขนาดโตคือมีใบจริง 2-3 คู่ ใส่ปุ๋ยผสม 15-15-15 หรือใกล้เคียง ต้นละประมาณ 1 ช้อนชา เพียงครั้งเดียว ดาวกระจายจะงามทั้งต้นและดอก แต่มีข้อเสียนิดหน่อย คือ ดาวกระจายมีอายุค่อนข้างสั้น ออกดอก เพียง 3-4 ชุดด้นจะโทรม และตายในที่สุด จึงต้องขยันปลูกใหม่เสมอ

ดาวเรือง Tagetes erecta

ดาวเรือง






อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Asterales
วงศ์ COMPOSITAE

สกุล Tagetes
สปีชีส์ T. erecta


ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes Patulal French Marigold

ตระกูล Compositae-Asteraceae

ชื่อพฤกษาศาสตร์ Tagetes erecta


ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก

วรรณคดีที่กล่าวถึง นิราศธารทองแดง

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น สูง 20-50 ซม. ลำต้นกลม มักมีสีม่วงปน ใบประกอบ ใบย่อยหยักลึกสุดแบบขนนก เป็นแฉกรูปใบหอกถึงรูปแถบแคบ สีเขียวสดใบมันมีกลิ่นหอมเฉพาะ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆที่ปลายยอด มีด้วยกันหลายสี เช่น สีเหลืองสม สีส้ม สีแดง หรือมีหลายสีในดอกเดียวกัน ชึ่งดาวเรืองฝรังเศสเป็นชนิด 2 สีในดอกเดียวกัน โดยผู้ขายเรียกเป็นภาษาไทยว่า ดาวเรืองไข่ดาว ดอกวงในเป็นสีเหลืองสดหรือสีเหลือง ทองจำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นรูปทรงกลมคว่ำ มีกลีบดอกวงนอกเป็นสีแดวสดหรือสีแดงซ้ำๆชั้นเดียว เรียงรอบขอบ กลีบดอกชั้นในทำให้ดูสวยงามน่ารักมาก ผลเป็นรูปแบนมีจำนวนมาก ดอกออกเมื่อต้นสมบูรณ์

ฤดูกาลออกดอก
ในช่วงปลายปีถึงต้นปี

สภาพการปลูก
ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นพรรณไม้ทีชอบแสงแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ชอบดินโปร่ง

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด




การปลูกและดูแลรักษา

ดินที่ใช้ปลูกดาวเรืองฝรั่งเศสควรเพิ่มฟางแห้งสับละเอียด 2 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วนคลุกทุกอย่างให้เข้ากันจนได้ที่ ถ้าปลูกลงแปลงจำนวนหลายต้น ต้องยกแปลงปลูกให้สูง เกลี่ยดินหน้าแปลงให้เรียบ ปลูกห่างกัน 1 ฟุตต่อต้น ถ้าปลูกลงกระถางทำทางระบายน้ำก้นกระถางให้ดี นำไปตั้งในที่แจ้งรดน้ำด้วยบัวฝอยพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยขี้วัวหรือขี้ควายแห้ง โรยตามหน้าแปลงและใต้โคนต้นที่ปลูกในกระถาง สลับกับปุ๋ย16-16-16 เดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกสวยงาม ซึ่งเมื่อดอกเริ่มแก่หรือโรยสามารถเก็บไปเพาะขยายพันธุ์ปลูกทดแทนได้


ดอกไม้สัญลักษณ์
ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ

การใช้ประโยชน์
ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์

ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบ จึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู


Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...